การพัฒนาระบบบริการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ภายใต้การจัดบริการเครือข่ายโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต หวังสันติวงศา โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • กาญจนา จันทะนุย โรงพยาบาลยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม
  • บังอร ล้อมไธสง โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

จัดบริการเครือข่าย, ทุติยภูมิ, หญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลระบบบริการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงภายใต้การจัดบริการเครือข่ายโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดมหาสารคาม ดาเนินการพัฒนาระบบริการร่วมกันโดยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้องของโรงพยาบาลในเครือข่ายบริการที่อยู่ภายใต้การกากับดูแลของโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย ประกอบด้วย โรงพยาบาลแม่ข่ายคือโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย โรงพยาบาลลูกข่ายคือ โรงพยาบาลยางสีสุราชและโรงพยาบาลนาดูน โดยใช้แนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ระยะเวลาวิจัย เดือน ตุลาคม 2563-กันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษา การพัฒนาระบบบริการดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง ภายใต้การจัดบริการเครือข่ายโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ จังหวัดมหาสารคาม ส่งผลให้บุคลากรมีความรู้ การปฏิบัติตามแนวทางดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูงเพิ่มขึ้น ทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อระบบริการในระดับมาก ผลลัพธ์ด้านหญิงตั้งครรภ์ พบว่า หญิงตั้งครรภ์ได้รับการส่งต่อถูกต้องทันเวลาจากเดิม ร้อยละ 81.66 เป็น 98.37 การเกิดภาวะแทรกซ้อนในหญิงตั้งครรภ์เสี่ยงสูงลดลงจาก ร้อยละ 15.38 เป็น 9.23 การคลอดก่อนกำหนดจาก 4.02 เป็น 3.04 ทารกมีภาวะ Birth Asphyxia จากร้อยละ 19.80 เป็น 10.01 มารดาคลอด มีภาวะ PPH ร้อยละ1.69 เป็น 1.01 ไม่พบมารดาและทารกตาย

References

จันทิยา เนติวิภัชธรรม และคณะ. (2561). รายงานการศึกษาสถานการณ์มารดาตาย เขตสุขภาพที่ 7. ขอนแก่น: เขตสุขภาพที่ 7; 2561.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2559). รายงานผลการตายของมารดาในประเทศไทยปี พ.ศ. 2559. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). คู่มือการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขและนิเทศงานกรม อนามัยประจาปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 แผนงานกรมอนามัย. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย. (2562). มาตรฐานงานอนามยแม่และเด็ก กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย.

งานเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. (2565). รายงานสถิติการบริการโรงพยาบาลวาปีปทุม ประจาปี 2561-2566 [ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาสารคาม: โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

World Health Organization. (2000) Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production Servicves.

กลุ่มพัฒนาอนามัยแม่และเด็ก ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. (2563). คู่มือ แนวทางการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็ก เขตสุขภาพที่ 7.ขอนแก่น; หจก.ขอนแก่นการพิมพ์.

จารุวรรณ เย็นเสมอ. (2564). การพัฒนาระบบบริการเครือข่ายแบบห้องคลอดเดียวกัน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 15(36),143-159.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-02-29