ผลการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อการปฏิบัติบทบาทและความถูกต้องแม่นยำของการคัดแยกของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วย, ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน, การปฏิบัติบทบาท, ความถูกต้องแม่นยำของการคัดแยกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อการปฏิบัติบทบาทและความถูกต้องแม่นยำของการคัดแยกของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ เวชทะเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุ ฉุกเฉินและนิติเวช จำนวน 40 ราย ดำเนินการระหว่างเดือนมกราคม 2567 - มีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการปฏิบัติบทบาทอิสระของพยาบาลวิชาชีพ แบบสังเกตการณ์จำแนกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉิน และแบบบันทึกผลลัพธ์การคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติ Paired sample t-test และ สถิติ Chi-square
ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฯ กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการจำแนกผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Paired t -10.02, p < 0.001) มีคะแนนการจำแนกผู้ป่วยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Paired t -15.28, p < 0.001) และสัดส่วนผลลัพธ์การคัดแยกระดับความรุนแรงฉุกเฉินตามจริงสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .001)
References
Zachariasse JM, van der Hagen V, Seiger N, Mackway-Jones K, van Veen M, Moll HA. Performance of triage systems in emergency care: a systematic review and meta-analysis. BMJ Open. 2019; 9(5):e026471.
Punyanuch P. A Study of Emergency Patient Triage at Emergency Department Of Wangchin Hospital. Phrae Medical Journal and Clinical Sciences. 2020; 28(1):152-162.
Adhikari B, Shrestha L, Bajracharya M, et al. Triage practices for emergency care delivery: a qualitative study among febrile patients and healthcare workers in a tertiary care hospital in Nepal. BMC Health Serv Res. 2024;24(1):180.
Phiri M, Heyns T, Coetzee I. Patients' experiences of triage in an emergency department: A phenomenographic study. Appl Nurs Res. 2020;54:151271.
Gilboy N, Tanabe P, Travers D, Rosenau AM. Emergency Severity Index (ESI): a triage tool for emergency department care, version 4. Implementation handbook. 2012:12-0014.
Yuzeng S, Hui LL. Improving the wait time to triage at the emergency department. BMJ Open Qual. 2020;9(1):e000708.
Huabbangyang T, Rojsaengroeng R, Tiyawat G, et al. Associated Factors of Under and Over-Triage Based on The Emergency Severity Index; a Retrospective Cross-Sectional Study. Arch Acad Emerg Med. 2023;11(1):e57
Lupton JR, Davis-O'Reilly C, Jungbauer RM, et al. Under-Triage and Over-Triage Using the Field Triage Guidelines for Injured Patients: A Systematic Review. Prehosp Emerg Care. 2023;27(1):38-45.
Hayashi J, Abella M, Nunez D, et al. National analysis of over and under-triage rates in relation to trauma population risk factors and associated outcomes across various levels trauma centers. Injury. 2024;55(2):111215.
Gholami M, Fayazi M, Hosseinabadi R, Anbari K, Saki M. Effect of triage training on nurses' practice and triage outcomes of patients with acute coronary syndrome. Int Emerg Nurs. 2023;68:101288.
AlShatarat M, Rayan A, Eshah NF, Baqeas MH, Jaber MJ, ALBashtawy M. Triage Knowledge and Practice and Associated Factors Among Emergency Department Nurses. SAGE Open Nurs. 2022;8:23779608221130588.
ชนิดาภา ไกรธนสอน. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ดัชนีความรุนแรงฉุกเฉินต่อระยะรอคอยของผู้ป่วยและบทบาทของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มงานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลลำพูน. วารสารโรงพยาบาลแพร่, (2565);30(1):69-81.
Maas M, Jacox AK. Guideline for nurse autonomy/patient welfare. New York: Appleton-Century-Crofts; 2012.
อันธิกา คะระวานิช, ปรานีต อนันต์ และนิธิมา เหล่ารอด. พัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลการคัดแยกประเภทผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินของพยาบาลวิชาชีพหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตราด. วารสารกองการพยาบาล, (2563);47(3):169-184.
สุรางค์ วิมลธาดา. ผลของการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน ระยะเวลารอคอย และการรับรู้บทบาทการคัดแยกผู้ป่วยแผนกผู้ป่วยนอก ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลกระทุ่มแบน. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. (2567);20(3):50-64.
สมเกียรติ โชติศิริคุณวัฒน์. ผลของการใช้กระบวนการหลักของการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โดยพยาบาลวิชาชีพห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา. (2565);5(1):1-11.
จิดาภา วิเศษวุฒิ. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกผู้ป่วยโดยใช้ระบบคัดแยก 5 ระดับ (MOPH ED.Triage) หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลพระยืน จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. (2566);8(3):962-968.
นวลฉวี พะโน. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความเร่งด่วน โรงพยาบาลท่าอุเทน จังหวัดนครพนม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. (2567);9(1):58-67.
พรรณทิพย์ วรรณขาว, นฤมล ภูสนิท และสว่างศิลป์ ภูหนองโอง. การพัฒนารูปแบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยห้องฉุกเฉิน ตามแนวทางการคัดกรอง Emergency Severity Index (ESI) โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. (2566);8(3):513-521.