รูปแบบการขนส่งพัสดุทางบกขนาดย่อมภายในประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • ธัญญพัทธ์ แสนศรีเศรษฐกุล นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • บุญเลิศ วงค์โพธิ์ อาจารย์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • วินัย วีระวัฒนานนท์ อาจารย์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • ธัศษณพัฒน์ ปานพรม อาจารย์, หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

รูปแบบการขนส่งพัสดุ, การบริหารจัดการ, ความมิตรกับสิ่งแวดล้อม

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาสภาพปัญหาการขนส่งพัสดุทางบกขนาดย่อมภายในประเทศ 2) พัฒนารูปแบบการขนส่งพัสดุทางบกขนาดย่อมภายในประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้ประกอบการ พนักงานประจำร้าน พนักงานขนส่งพัสดุต่อรูปแบบการขนส่งพัสดุทางบกขนาดย่อมภายในประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นพนักงานของธุรกิจบริการขนส่งพัสดุทางบก ในจังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 300 แห่ง   กลุ่มตัวอย่างที่ให้สัมภาษณ์ข้อมูลสำคัญ จำนวน 90 คน ใช้วิธีการเลือกแบบโควต้า  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบเอฟ และข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์สรุปความตามเนื้อหาโดยวิธีพรรณนา
     ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาส่วนใหญ่ของธุรกิจบริการรับส่งพัสดุทางบกภายในประเทศพบประเด็นปัญหา 4 ด้าน คือ ด้านระบบการจัดการบริหารด้านการขนส่งพัสดุที่ไม่มีประสิทธิภาพ ด้านการขนส่ง ยานพาหนะและอุปกรณ์ หรือในส่วนที่เป็นสภาพรถที่ใช้ขนส่งไม่มีความพร้อมต่อการใช้งานรวมทั้งปัญหาสภาพแวดล้อมการจราจร ด้านบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน และด้านอาคาร/สำนักงาน สำหรับบริการรับส่งพัสดุ  2) รูปแบบการขนส่งพัสดุทางบกขนาดย่อมภายในประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และ 3) ความคิดเห็นของผู้ประกอบการ พนักงานประจำร้าน พนักงานขนส่งพัสดุที่มีต่อรูปแบบการขนส่งพัสดุทางบกขนาดย่อมภายในประเทศที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก

References

วิภาวรรณ พันธุ์สังข์. (2554). การพัฒนาระบบวางแผนการขนส่งเพื่อลดการเดินรถบรรทุกเที่ยวเปล่า.วิทยานิพนธ์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

พิชัย เหลี่ยวเรืองรัต. (2557). โลหะสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (2558): ธันวาคม 2557 - พฤษภาคม 2558.

Thaiforklift. (2556). โลจิสติกส์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม. (Green Logistics) สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2565 จาก http://pcnforklift2556.blogspot.com/2013/04/green-logistics.html

ปิยะฉัตร จารุธีรศานต์. (2563). การเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งของธุรกิจ ซื้อมาขายไปในประเทศไทย.วารสารวิทยาการจัดการ, มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม. ปีที่ 7 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563, 7(2), 81–95.

ฉมามาศ ประยงค์. (2555). การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งและกระจายสินค้ากรณีศึกษาบริษัท ซี-โปร โลจีสติกส์ แอนด์ ดิสทริบิวชั่น จำกัด. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยหอการค้า.

Aleksandr Rakhmangulov, Nikita Osintsev. (2017). Green Logistics: Element of the Sustainable Development Concept. Retrieved October 26, 2022, From https://www.researchgate.net/publication/320898692 Green Logistics Element of the Sustainable Development Concept Part 1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30