การพัฒนาระบบบริการงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • ปวีณา จิตต์ตรง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลนาแก

คำสำคัญ:

การพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด, มาตรฐานบริการผู้ป่วยห้องผ่าตัด, การพัฒนาระบบ

บทคัดย่อ

     รูปแบบงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ในการพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนาระบบบริการงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ห้องผ่าตัด จำนวน 10 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม ดำเนินการวิจัยในระหว่างวันที่ 31 มกราคม ถึง 14 มีนาคม 2567 ระยะเวลา 6 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired t - test
     ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของบุคลากรต่อระบบบริการงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โดยภาพรวม พบว่า ก่อนและหลังพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากระดับมากเป็นมากที่สุด (X=22.60/35.50, SD=4.42/2.83) 2) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของ ผู้รับบริการต่อระบบบริการงานการพยาบาลผู้ป่วยห้องผ่าตัด โดยภาพรวม พบว่า ก่อนและหลังพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากระดับมากเป็นมากที่สุด (X=20.40/35.66, SD=3.06/1.07) 3) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความพึงพอใจทั้งจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรและผู้รับบริการพบว่า หลังการพัฒนาระบบ มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจเพิ่มขึ้นกว่าหลังการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 4) ความคิดเห็นต่อการบริการของ ผู้รับบริการ ในด้านความคิดจะกลับมาใช้บริการอีกครั้งหรือไม่ หลังพัฒนาพบว่า มั่นใจว่าจะกลับมาอีกร้อยละ 90 ส่วนการแนะนำมาใช้บริการที่นี่อีกร้อยละ 100

References

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ.2561 Patient Safety Goal:SIMPLE Thailand 2018. กรุงเทพฯ: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล; 2561.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). Patient safety goals :SIMPLE Thailand 2018. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล; 2561.

โรงพยาบาลนาแก เวชระเบียนและงานผู้ป่วยนอก. งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนาแก; 2566.

นงลักษณ์ บุญเยีย. ผลการพัฒนารูปแบบทีมการพยาบาลต่อคุณภาพการพยาบาลในผู้ป่วยหนักศัลยกรรมหัวใจและทรวงอก. ว.วิชาการสาธารณสุข 2558; 24(5): 927-36.

สาหร่าย จันสา. อิทธิพลของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีมต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลทหารบก 2560; 18 ฉบับพิเศษ: 229-307.

วรรณวิมล ทุมมี. การจัดการความปลอดภัยในห้องผ่าตัด [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2558.

วีณา จีระแพทย์ และเกรียงศักดิ์ จีระ วิลาสินี ราชจำปี. ผลการใช้แบบรายการตรวจสอบความปลอดภัยของทีมผ่าตัดในโรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี 2560; 25(1): 39-49.

เกษร สิทธิศาสตร์,อารมย์ ตัตตะวะศาสตร์,ศักดิ์ชัย เจริญศิริพรกุล.แนวทางการปรับปรุงคุณภาพการรับผู้ป่วยเข้าทำการผ่าตัด โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.2562.

ชูใจ วินิจ.ผลการพัฒนางานห้องผ่าตัดต่อความพึงพอใจของผู้รับบริการ โรงพยาบาลสุโขทัย.2557.

ศิริพร ประลันย์.ประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการทำงานเป็นทีมต่อความปลอดภัยของผู้ป่วยในห้องผ่าตัดศัลยกรรม โรงพยาบาลนครพนม.2563.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30