ประสิทธิผลการพัฒนาความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย อำเภอซำสูง จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, ความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 104 คน ขั้นตอนที่ 2 การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คนได้มาจากการสมัครใจเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล แบบประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน
ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 93.20 มีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับไม่เพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 33.34 คะแนน, SD 7.22) ขั้นตอนที่ 2 ก่อนการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 98 มีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับไม่เพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 30.78 คะแนน, SD 6.66) หลังการเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 92.90 มีความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในระดับเพียงพอ (ค่าเฉลี่ย 45.98 คะแนน, SD 3.26) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่ามัธยฐานคะแนนความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลระหว่างก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ 95.20 มีความพึงพอใจระดับมาก
References
Kshirsagar NA. Rational use of medicines: Cost consideration & way forward. Indian J Med Res 2016; 144(4): 502–05.
World Health Organization. Rational use [Internet]. 2023 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://www.who.int/teams/health-product-policy-and-standards/medicines-selection-ip-and-affordability/medicines-policy/rational-use
กลุ่มนโยบายแห่งชาติด้านยา. นโยบายประเทศใช้ยาอย่างสมเหตุผล [อินเทอร์เน็ต]. 2559 [สืบค้นเมื่อ 11 ธ.ค. 2566]; เข้าถึงจาก: https://ndi.fda.moph.go.th/drug_use/detail/201
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรงสาธารณสุข. คู่มือการจัดการเรียนรู้ในการเสริมสร้างทักษะเพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: นิวธรรมดาการพิมพ์; 2562.
Abacıgil F, Turan SG, Adana F, Okyay P, & Demirci B. Rational Use of Drugs Among Inpatients and Its Association with Health Literacy. Meandros Med Dent J 2019; 20: 64–73.
Isler AO, Pamuk G, Aksoy H, & Ongel K. (2022). Health Literacy Levels of Individuals Between 18-65 Years Old and Its Effect on Rational Drug Use. Euras J Fam Med 2022; 11(2): 127–35.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. การกำหนดขนาดตัวอย่างสำหรับการวิจัยเชิงพรรณนาในงานสาธารณสุข. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2556; 16(2): 9-18.
ณัฐพล ผลโยน. ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2566; 16(3): 333 – 47.
ตวงรัตน์ โพธะ, กุสาวดี เมลืองนนท์, เพ็ญกาญจน์ กาญจนรัตน์, และ สมหญิง พุ่มทอง. การพัฒนาเครื่องมือและประเมินความรอบรู้ด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของประชาชนไทย. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2564.
ณัฐพล ผลโยน. การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านการใช้ยาอย่างสมเหตุผลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 2566; 26(1): 89-100.
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. โปรแกรมสุขศึกษาเพื่อการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เรื่อง การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล สำหรับอาสาสมัครสาธารณสุขและประชาชนกลุ่มวัยทำงาน. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กระทรวงสาธารณสุข; 2562.
Best J. Research in Education. New Jersey: Prentice Hall, Inc, 1977.
กมลรัตน์ นุ่นคง. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลในชุมชนเพื่อความปลอดภัยจากการใช้ยาของประชาชน ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2565.