การพัฒนากระบวนการจัดบริการสุขภาพในชุมชนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ถ่ายโอนภารกิจและยังไม่ถ่ายโอนภารกิจด้านสุขภาพให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • สุภัทร กตัญญูทิตา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครปฐม

คำสำคัญ:

ความพร้อมและการพัฒนา, การจัดบริการสุขภาพ, การถ่ายโอน รพ.สต.

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา สถานการณ์ ความพร้อม และการพัฒนากระบวนการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมในระยะเปลี่ยนผ่าน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมในปีงบประมาณ 2566 จำนวน 220 คน โดยเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนากระบวนการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมในระยะเปลี่ยนผ่าน เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานด้วยสถิติได้แก่ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, Dependent t – test และ F – test ด้วยเทคนิค One way ANOVA
     ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนากระบวนการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมในระยะเปลี่ยนผ่านประกอบด้วย 6 กระบวนการ ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อม 2) การถ่ายทอดแนวคิดการดำเนินการถ่ายโอน 3) การประสานส่งมอบภารกิจ 4)การดำเนินการถ่ายโอน 5) การติดตามประเมินผล และ 6) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนากระบวนการด้านวิชาการ, ด้านการจัดบริการปฐมภูมิ, ด้านการเงิน และด้านการบริหารบุคคล ส่งผลให้ระดับความพร้อมในการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมในระยะเปลี่ยนผ่านโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ในส่วนรายด้านอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด เมื่อเปรียบเทียบความพร้อมในการจัดบริการสุขภาพของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่ถ่ายโอนไปองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐมในระยะเปลี่ยนผ่าน ก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและรายด้าน โดยที่หลังการดำเนินงานมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนดำเนินการ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างตำแหน่งที่ต่างกัน ประกอบด้วย ข้าราชการ, พนักงาน  กระทรวงสาธารณสุข, ลูกจ้างชั่วคราว และพนักงานจ้างพบว่าไม่แตกต่างกัน

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานและแนวทางการออกแบบสถานบริการสุขภาพ ระดับปฐมภูมิ. กองแบบแผน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข, 2558. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565 จาก https://hss.moph.go.th/fileupload_doc_slider/2016-11-16-28-16-196446.pdf.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2562, 2562. สืบค้นเมื่อ1 สิงหาคม 2565 จาก https://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/056/T_0165.PDF.

สำนักสนับสนุนระบบสุขภาพปฐมภูมิ . คู่มือคุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566. กระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, 2565.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. รายงานผลการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประเด็นเรื่องการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุขให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี, 2566.

จักรกฤษณ์ วังราษฎร์. การกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข : สถานการณ์และแนวโน้มในอนาคต. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 5,4 (ต.ค.-ธ.ค.2554) : 530-538.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. แนวทางการดำเนินการถ่ายโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษานวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด. กรุงเทพฯ: ทำเนียบรัฐบาล, 2564.

สุระ วิเศษศักดิ์. สไลด์นำเสนอ “การขับเคลื่อนของ กระทรวงสาธารณสุข ต่อนโยบายกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข” ในการประชุมคณะทำงานจัดทำข้อเสนอการบริหารจัดการงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามนโยบายการกระจายอำนาจด้านสาธารณสุข ครั้งที่ 1/2565 วันที่ 14 มกราคม 2565.

ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา, วิทยา โชคเศรษฐกิจ, ภัควัฒน ภูริพงศธนวัต, อุกฤษณ์ กฤตยโสภณ, ณฐนภ ศรัทธาธรรม และ เยาววัลยา อ่อนโพธิ์ทอง. โครงการสังเคราะห์ข้อเสนอและออกแบบเชิงนโยบายการถ่ายโอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ, 2564.

วราภรณ์ ผ่องอ่วย, ปาณิสรา นาเลิศ และ โชติ บดีรัฐ. ช่องว่างและอุปสรรคในการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2.4 (2565) : 205-220.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. คู๋มือบริหารจัดการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข: นนทบุรี, 2553.

ดาราวรรณ รองเมือง และคณะ. การให้บริการตามมาตรฐานการให้บริการปฐมภูมิและการรับรองมาตรฐานการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ, 2565.

อัชกรณ์ วงศ์ปรีดี, ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา และกิตติพงษ์ เกิดฤทธิ์. การพัฒนาตัวแบบระบบสุขภาพปฐมภูมิขององค์การบริหารส่วนจังหวัด: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ, 2566.

รัถยานภิศ รัชตะวรรณ และคณะ. รูปแบบการบริการสุขภาพของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลภายหลังการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้กลไกพระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิพ.ศ. 2562. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์. สถาบันวิจัยระบบสุขภาพ, 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30