กลยุทธ์การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การวิจัย, การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย, โครงร่างการวิจัย, กลยุทธ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรสาธารณสุข จำนวน 130 คน กลุ่มเป้าหมายในการสนทนา จำนวน 15 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการประเมินกลยุทธ์ฯ จำนวน 17 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองกลยุทธ์ฯ จำนวน 50 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย SWOT Analysis การสนทนากลุ่ม แบบประเมินกลยุทธ์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired Samples t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ผลลัพธ์ของการดำเนินงานตามกลยุทธ์การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี นำไปปฏิบัติ พบว่า ภายหลังการพัฒนากลยุทธ์ ฯ กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัย ดีขึ้นกว่าก่อนการพัฒนากลยุทธ์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95%CL =8.61-6.23, t = 98.04, P < 0.001) ความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ฯ อยู่ในระดับมาก (=4.48, SD=0.32) กลุ่มตัวอย่างมีศักยภาพในการวิจัย สามารถเสนอโครงร่างวิจัยซึ่งมาจากปัญหาในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 100.00
References
ประภัสสร สุรวัฒนาวรรณ. (2556). R2R : Routineto Research.วารสารเพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์การเภสัชกรรม. 16(2), 2-3
จรวยพร ศรีศศลักษณ์. คุณค่าการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข; 2552: 3(1),138-152.
เชิดชัย นพมณีจำรัสเลิศ. (2557). R2R เสริมพลัง สร้างคุณภาพ สู่สุขภาวะ. กรุงเทพฯ: บริษัทสหมิตรพริ้นติ้งแอนด์พับลิสชิ่ง จำกัด
นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ. (2559). การพัฒนาศักยภาพการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขใน จังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(2) (พฤษภาคม – สิงหาคม 2559), 205-214
Kemmis S , & McTaggart R. (1988). The Action Research Planer (3 ed.). Victoria: Deakin University.
สมยศ นาวีการ. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ : สําหนักงานพิมพ์บรรณกิจ.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พันทะนาม ลัดสะจัก, สำราญ กำจัดภัย.(2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรด้านการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : กรณีศึกษาแขนงข้อมูลข่าวสารทรัพยากรธรรมชาติแขวงคำม่วน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว.วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร. 14 (65), 52-62. http://competency.rmutp.ac.th
นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ. (2559). การพัฒนาศักยภาพการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11(2) (พฤษภาคม – สิงหาคม 2559), 205-214
ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ และญาณี โชคสมงาม. (2564). KM knowledge management: ความรู้ในองค์กร คือ Big data ที่สำคัญที่สุด ศักยภาพในการแข่งขันด้วยกลยุทธ์การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: วิช กรุ๊ป (ไทยแลนด์).