ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการติดเชื้อ Human papillomavirus ของสตรีในพื้นที่อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ความเสี่ยง, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความชุกของผลตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกและขนาดของโอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงที่ป่วยมะเร็งปากมดลูก ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลยางตลาด อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 286 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ในการหาค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation), ค่าต่ำสุด (Minimum), ค่าสูงสุด (Maximum) และสถิติเชิงอนุมานใช้สถิติ Chi-square test และ และ การหาขนาดของความสัมพันธ์ ใช้ค่าของ Odd Ratio, 95%CI กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเสี่ยงผลตรวจเป็นบวกในการคัดกรองหามะเร็งปากมดลูกของโรงพยาบาลยางตลาด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ประวัติการกินยาคุมกำเนิดเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี มีโอกาสเสี่ยงต่อผลเป็นบวก คิดเป็นเกือบ 3 เท่า ประวัติการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย มีโอกาสเสี่ยงต่อผลเป็นบวก คิดเป็นเกือบ 4 เท่า ประวัติเคยดื่มสุรา มีโอกาสเสี่ยงต่อผลเป็นบวก คิดเป็นเกือบ 2 เท่า
References
World Health Organization Accelerating the elimination of cervical cancer as a public health problem: Towards achieving 90–70–90 targets by 2030. World Health Organization. 2022. Regional Office for South-East Asia. [Google Scholar]
Rojanamatin, J., Ukranum, W., Supaattagorn, P., Chiawiriyabunya, I., Wongsena, M.,Chaiwerawattana, A., Leowahutanont, P. et al. (2023). Cancer in Thailand Volume X, 2016-2018. Retrieved 19 January 2023, from https://www.nci.go.th/e_book/cit_x/index.html.
กลุ่มงานควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. ทะเบียนมะเร็งจังหวัดกาฬสินธุ์. [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: http://203.157.186.27/cancer_base/tp.php
จรัสศรี อินทรสมหวัง และกาญจนา ศรีสวัสด์. สมรรถนะของพยาบาลในการดูแลสตรีมะเร็งปากมดลูก. วารสารเกษมบัณฑิต. 2562; 20(1):146-154.
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ (2561-2565) [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 1 มีนาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: ttps://www.nci.go.th/th/File_download/D_index/แผนการป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งแห่งชาติ.pdf
โสภิดา ภู่ทอง, วรรณภา เศรษฐีธรรม-อิชิดะ, ดนัย ทิวาเวช, วิไลวรรณ กฤษณะพันธ และศีตกานต์ นัดพบสุข ความหลากหลายทางพันธุกรรมของจีน MDR1 ร่วมกับการใช้ยาคุมกำเนิดต่อควาเมสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูก. 2561. The 34th National Graduate Research conference p.1155-1159 เข้าถึงได้จาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/58/the34th/pdf/MMP29.pdf
มยุรี วงค์ประเทศ, วรรณภา เศรษฐีธรรม-อิชิดะ, โสภิดา ภู่ทอง และศีตกานต์ นัดพบสุข. ลักษณะทางพันธุกรรมของจีน CYP1A1m1 เพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งปากมดลูกในผู้ที่ใช้ยาเม็ดคุมกำเนิด. ศรีนครินทร์เวชสาร 2562; 34(5): 442-447. เข้าถึงได้จาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/SRIMEDJ/article/view/217029/150577
พนิดา จันทโสภีพันธ์ ณัฐวรรณ สุวรรณ ยุพิน เพียรมงคล และจตุพล ศรีสมบูรณ์. ความรู้และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูกของนักศึกษาหญิง: ข้อเสนอแนะต่อการสอนเพศศึกษาและนโยบายสุขภาพ. วารสารสภาการพยาบาล 2558; 26(3) 48-63 เข้าถึงได้จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJONC/article/view/2725/2426
Pragati Sharmaa,, Sanjay M. Pattanshetty A study on risk factors of cervical cancer among patients attending a tertiary care hospital: A case-control study. Clinical Epidemiology and Global Health, Volume 6, Issue 2, June 2018, Pages 83-87 เข้าถึงได้จาก https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2213398417300702
กีรติยา พิทยะปรีชากุล, กวีวัชร์ ตันติเศรณี, ปิยะพงษ์ ศรีสวัสดิ์ และ เบญจมาส มั่นอยู่ ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งปากมดลูกและการเปรียบเทียบการตรวจคัดกรองมะเร็งปาดมดลูกโดย 2 วิธี. Health Sci J Thai 2022 April - June 4(2): 87-94.