การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • สกาวเดือน มงคลสุคนธรัก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
  • อาภา ศรีสร้อย โรงพยาบาลอุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านม, ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านม หอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี และศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมในการดูแลผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติติงานในหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี จำนวน 20 คน เครื่องมือใช้แบบประเมินคุณภาพทางคลินิก Agree II และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมของพยาบาลวิชาชีพ มีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.83 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.7 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม 2565  ถึงเดือนสิงหาคม 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัยพบว่า  กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 100 มีอายุ 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.00 และกลุ่มตัวอย่างมีอายุน้อยที่สุด 23 ปี  อายุมากที่สุด 45 ปี อายุเฉลี่ยเท่ากับ 29 ปี สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 100 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 45.00 ความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมไปใช้ พบว่า ในภาพรวมมีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้ ร้อยละ 77.86 หมวดที่มีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้มากที่สุดคือ หมวดที่ 4 ความชัดเจนในการนำเสนอ ร้อยละ 80.71  หมวดที่มีความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลไปใช้น้อยที่สุดคือ  หมวดที่ 2 การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร้อยละ 79.29   ความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมในการดูแลผู้ป่วย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจในการพนำแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}= 4.34 ,S.D. = 0.50)  จำแนกเป็นรายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจมากที่สุดคือด้านความเหมาะสมและคุ้มค่าต่อหน่วยงานอยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{X}=4.45,  S.D. = 0.51)  มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือด้านคุณภาพอยู่ในระดับมาก  (gif.latex?\bar{X}= 4.20 ,S.D. = 0.52)  

References

วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล และคณะ. 2563. BREAST CANCER Monograph in the Year 2014-2018 Siriraj Hospital ข้อมูลมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลศิริราช ระหว่างปี พ.ศ.2557-2561 พิมพ์ครั้งที่ 1: บริษัท พี.ซี.เค. ดีไซน์ จำกัด นนทบุรี.

ทะเบียนเวชสถิติหอผู้ป่วยศัลยกรรมหญิง โรงพยาบาลอุดรธานี ปีงบประมาณ 2564.

ดวงฤดี ลาศุขะ. การปรับปรุงแนวปฏิบัติทางคลินิก: แนวทางและขั้นตอน. พยาบาลสาร 40(ฉบับพิเศษ) 97-104; 2556.

กนิษฐา อิสสระพันธุ์ และ เพียงฤทัย โรจน์ชีวิน. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการเตรียมผ่าตัดสมองในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ.วารสารวิชาการสาธารณสุข. 25(5) 823-830; 2559.

รัชฎา พูนปริญญา และ วิชชุดา กิตติวราฤทธิ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดเต้านมแบบดั้งเดิมประยุกต์.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร 23(2) 2563 59-69; 2563.

สายสม รุจิพรรณ และโสพิศ เวียงโอสถ. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้บาดเจ็บวิกฤตตามหลักฐานเชิงประจักษ์งานอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์.เชียงรายเวชสาร 12(3) 81-97; 2563.

พัทยา แผ่นชัยพรม ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลสำหรับการจัดการความปวดในผู้สูงอายุหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2557.

ชุติมา รัตนบุรี เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย และ อารี ชีวเกษมสุข. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกในการดูแลผู้ป่วยหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 21(2) 163-173 ; 2561.

วันเพ็ญ ทิพม่อม. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยเด็กโรคหืด โรงพยาบาลสกลนคร.วารสารโรงพยาบาลสกลนคร. 24(1) 1-10; 2561.

หนึ่งฤทัย อุดเถิน และคณะ. การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านม วชิรสารการพยาบาล 22(2) 91-104; 2563.

Wang, X., Lai, Q., Tian, Y., & Zou, L. (2020). Effect of evidence-based nursing intervention on upper limb function in postoperative radiotherapy patients with breast cancer. Medicine,99(11), e19183.

สภาการพยาบาล.2554. พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2540 ฉบับภาษไทย และภาษาอังกฤษ บริษัทจุดทอง จำกัด. กรุงเทพมหานคร.

ข้อบังคับสภาการพยาบาล ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 เล่ม 124 ตอนพิเศษ 83 ง ราชกิจจานุเบกษา 11 กรกฎาคม 2550 56-60.

ประกาศสภาการพยาบาล เรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562 เล่ม 136 ตอนพิเศษ 97 ง ราชกิจจานุเบกษา 18 เมษายน 2562. 30-36.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30