ประเมินผลโครงการสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • วาสนา ทิพเลิศ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น
  • ธัญนัทน์ หีดขุนทด พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

ประเมินผล, สนับสนุน, การควบคุม, ยาสูบ, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPP Model เพื่อประเมินผลและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์การดำเนินโครงการสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดขอนแก่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ คณะอนุกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 65 คน กลุ่มเป้าหมายการดำเนินงาน ประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไปได้รับการคัดกรองการสูบบุหรี่และพฤติกรรมการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 13,262,676 คน สถานศึกษาปลอดบุหรี่และสุรา 20 แห่ง ชุมชนปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 14 อำเภอ เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานบำบัดรักษาผู้สูบบุหรี่/ดื่มสุรา 230 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มเป้าหมาย เป็นเพศชาย ร้อยละ 61.5 และ เพศหญิง ร้อยละ  38.5 อายุเฉลี่ย 53.8 ปี (SD.= 7.40 ต่ำสุด 34 ปี มากที่สุด 65 ปี) ประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เฉลี่ย 11.4 ปี (SD.= 4.21 น้อยที่สุด 2 ปี มากที่สุด 20 ปี) ภาพรวมการประเมินผลการดำเนินงานของโครงการสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จังหวัดขอนแก่น ด้านบริบท/สภาวะแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการดำเนินงาน ด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ มีความคิดเห็นในระดับเห็นด้วยมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ปัจจัยด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยด้านการดำเนินการ ปัจจัยด้านกระบวนการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ปัจจัยด้านผลผลิต/ผลลัพธ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ              (r=0.65; p value <0.001 , r=0.77; p value <0.001 และ r=0.86; p value <0.001) ตามลำดับ

References

Flor LS, et al. The effects of tobacco control policies on global smoking prevalence. Nature Medicine 2021;27(2):239–243; doi: 10.1038/s41591-020-01210-8.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. สรุปข้อมูลสถิติที่สำคัญ พ.ศ. 2564 : ผลสำรวจ/สำมะโนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ. บริษัท ธนอรุุณการพิมพ์ จำกัด; 2564.

World Health Organization. WHO reports progress in the fight against tobacco epidemic. 2021.

กระทรวงสาธารณสุข. Health Data Center Report. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=68345e9bd757bdbf07d0d7fc71bee68f [Cited 2023 June 6]

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. รายงานการปิดโครงการสนับสนุนการควบคุมการบริโภคยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จังหวัดขอนแก่น. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.); 2566.

Stufflebeam DL. The CIPP Model for Evaluation. In: International Handbook of Educational Evaluation. (Kellaghan T, Stufflebeam DL. eds) Springer Netherlands: Dordrecht; 2003; pp. 31–62; doi: 10.1007/978-94-010-0309-4_4.

สำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาสูบ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

Jolene Dubray, et al. The effect of MPOWER on smoking prevalence. Tob Control 2015;24(6):540; doi: 10.1136/tobaccocontrol-2014-051834.

Gravely S, et al. Implementation of key demand-reduction measures of the WHO Framework Convention on Tobacco Control and change in smoking prevalence in 126 countries: an association study. The Lancet Public Health 2017;2(4):e166–e174; doi: 10.1016/S2468-2667(17)30045-2.

วันเพ็ญ แวววีรคุปต์ และคณะ. การประเมินผลโครงการวิจัยจังหวัดนครปฐมปลอดบุหรี่: กรณีเยาวชนในสถานศึกษา. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ 2563;14(2):1–15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30