การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน: กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน, ห้องฉุกเฉินบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ห้องฉุกเฉิน โดยศึกษาในผู้ป่วยชายไทยอายุ 80 ปี มาโรงพยาบาลวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 ด้วยอาการ แขนขาข้างซ้ายอ่อนแรง 1 ชั่วโมง ก่อนมาโรงพยาบาล ส่งตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT brain) ผล No intracranial hemorrhage, old lacunar infarction in Rt temporal lobe
ผลการศึกษา: แรกรับผู้ป่วยรู้สึกตัวดี GCS 15 คะแนน (E4V5M6) pupil Ø 2 mm BE แขนขาข้างซ้าย เกรด 3, NIHSS=1 ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน IICP ผู้ป่วยและญาติวิตกกังวลจากโรคที่เจ็บป่วย ให้การพยาบาลจัดท่านอนศีรษะสูง 30 องศา ให้ออกซิเจน Cannular 4 LPM ควบคุมความดันโลหิต มีแผนการรักษาให้ยาละลายลิ่มเลือด (ASA 81 mg, Clopidogrel 75 mg) ให้ข้อมูลโรคแก่ผู้ป่วยและญาติ ผู้ป่วยได้รับการรักษาในโรงพยาบาล โดยผ่านระบบช่องทางด่วน Stroke Fast track และส่งตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลปากช่องนานา (stroke unit) จำหน่ายวันที่ 3 สิงหาคม 2566 ขณะดูแลรักษาพยาบาลไม่พบภาวะแทรกซ้อน
References
American Heart Association/American Stroke Association. (2015). Focused Update of the Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke Regarding Endovascular Treatment. Stroke : 46; 3020–3035.
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). สถิติสาธารณสุข. สำนักพิมสยามเจริญ.
สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรหลอดเลือดสมอง สำหรับพยาบาลทั่วไป. บริษัท ธนาเพลส จำกัด
กลุ่มงานเวชระเบียน โรงพยาบาลมกุฎคีรีวัน. (2566). รายงานสถิติผู้ป่วย. โรงพยาบาลมกุฎคีรีวัน
นิภาพร บุตรสิงห์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะเฉียบพลัน. วารสารสภากาพยาบาล: 34(3); 15-29.
พรรณี รัตนปทุมวรรณ. (2565). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันที่ห้องฉุกเฉิน : กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน; 7(3); 227-237.
รุ่งนภา จันทรา, เรณู แสงสุวรรณ และชุลีพร หัตอักษร. (2560). การดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอุดตันด้วยทีมสหวิชาชีพ. วารสารพยาบาลทหารบก: 18; 49-55.