ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ปัจจัย, ความพึงพอใจ , การเข้ารับบริการทันตกรรมบทคัดย่อ
การศึกษาเชิงสำรวจแบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในการเข้ารับบริการทันตกรรมและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการทันตกรรมของผู้มารับบริการ โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ในเดือน มีนาคม 2567 จำนวน 147 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบทีละขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 6.12 และความพึงพอใจอยู่ในระดับสูงร้อยละ 93.88 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการเข้ารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ได้แก่ การเข้าถึงบริการทันตกรรมภาพรวม การเข้าถึงบริการทันตกรรมด้านเจ้าหน้าที่หรือผู้ให้บริการ การเข้าถึงบริการทันตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ และคุณภาพบริการด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ โดยตัวแปรทั้งหมดที่ศึกษาสามารถทำนายความพึงพอใจพอใจในการเข้ารับบริการทันตกรรม โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่นได้ร้อยละ 80.10 (R2=.0.801) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<0.05
References
World Health Organization. (2021). World Health Assembly Resolution paves the way for better oral health care[อินเตอร์เน็ต]. 2021.[สืบค้นเมื่อ 19 มกราคม 2567] จาก https://www.who.int/news/ item/27-05-2021-world-health- assembly-resolution-paves-the-way-for-better-oral-health-care.
สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. 2561.
กรมอนามัย.แผนยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพช่องปากประเทศไทย พ.ศ. 2566-2580. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์. 2566.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ.2564. กรุงเทพมหานคร: บริษัทธนาแพรสจำกัด. 2554.
กนกอร โพธิ์ศรี, จีรนันท์ วิทยาไพโรจน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการมารับบริการทางทันตกรรมของผู้สูงอายุ 60-74 ปี ใน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารทันตาภิบาล 2561;29(2):84-92.
กระทรวงสาธารณสุข. ผู้ป่วยนอกที่รับบริการทางทันตกรรม รวมทุกสิทธิ์ (คนต่อสถานบริการ) จังหวัด ขอนแก่น. เข้าถึงเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2567 จากhttps://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?&cat_id=fc73b811eb6d9206e7 e5baf8ad20d7b9&id=cba4cc41872398d244dde8e2604c1fda
Sheiham A. Oral health, general health and quality of life. Bull World Health Organ 2005; 83: 644-645.
ภาณุศักดิ์ อินทสะโร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจของผูสูงอายุที่มารับบริการทำฟันเทียม ณ โรงพยาบาลระนอง จังหวัดระนอง. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล 2565; 28(2): 1-15.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที 10. นนทบุรี : ไทยเนรมิต กิจอินเตอร์ โปรเกรสซิฟ. 2550.
Best, J.W. Research in Education. 4th ed. New Jersey: Prentice- Hall Inc. 1981.
ศรัณยา ณัฐเศรษฐสกุล, วลัยพร ราชคมน์ และวรัญญา เขยตุ้ย. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกรับ บริการทางทันตกรรมจากคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสาร Mahidol R2R e-Journal 2561; 5(1): 131-150.
ณัฐฐา เสวกวิหารี. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการโรงพยาบาลรามาธิบดี. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2560.
ศิริรักษ์ ภูหิรัญ และกฤษฎา มูฮัมหมัด. ปัจจัยคุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพงพอใจของประชาชนที่ใช้บริการองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยทรายอำเภอหนองแค จังหวดสระบุรี.การประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาครั้งที่ 15 ปีการศึกษา 2563 .ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต. 2563.
วรางคณา แก้วดอนดุก. คุณภาพการบริการของหอผู้ป่วยใน งานการพยาบาลผู้ป่วยกุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 2561.