การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงและมีภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • มวภร ธรรมวริทธิ์ โรงพยาบาลโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

การพยาบาล, การผ่าตัดคลอด, ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงและมีภาวะตกเลือดหลังผ่าตัดคลอด หญิงตั้งครรภ์อายุ 25 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลวันที่ 4 ตุลาคม 2566 ด้วยอาการสำคัญ แพทย์นัดมาผ่าตัดคลอด เนื่องจากมีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นครรภ์ที่ 2 (G3P1A1L1) อายุครรภ์ 38+2 สัปดาห์
     ผลการศึกษา : พบภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรง เมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ รักษาด้วยยาลดความดัน Amlodipine (5) 1 tab oral OD pc ระยะก่อนคลอด ความดันโลหิต 169/114 มิลลิเมตรปรอท ผู้คลอดมีโอกาสเกิดภาวะชัก ได้รับยา Nicadepine ยาแมกนีเซียมซัลเฟต (MgSO4) และพิจารณาให้ผ่าตัดคลอด ระยะหลังคลอด สูญเสียเลือดระหว่างผ่าตัดรวม 1,000 ซีซี ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงอาการอย่างใกล้ชิด หญิงตั้งครรภ์และทารกปลอดภัย จำหน่ายผู้ป่วยวันที่ 7 ตุลาคม 2566 นัดติดตามหลังคลอด 6 สัปดาห์ มาตรวจหลังคลอดสุขภาพแข็งแรงทั้งมารดา และทารก

References

โฉมพิลาศ จงสมชัย. (2560). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. สืบค้นจาก www.si. mahidol.ac.th/th/division/nursing/NDivision/N_APN /.../3_100_1.pdf.

ตวงสิทธิ์ วัฒกนารา. (2560). ความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. พี.เอ.ลีฟวิ่ง จำกัด

ศรีเกียรติ อนันต์สวัสดิ์. (2558). การพยาบาลสูติศาสตร์ เล่ม 3. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์ทหารผ่านศึก

สมจิตร เมืองพิล. (2563). บทบาทพยาบาลผดุงครรภ์ในการป้องกันและดูแลมารดาที่มีภาวะตกเลือดหลังคลอด. ศิริยอดการพิมพ์

สุภานัน ชัยราช. (2560). Nursing role : Saving Mothers from Massive Management in Postpartum Hemorrhage. บริษัทยูเนี่ยน ครีเอชั่น จำกัด

ลัลธพร พัฒนาวิจารณ์. (2560). การดูแลภาวะตกเลือดหลังคลอด. บริษัทยูเนี่ยนครีเอชั่น จำกัดงานสารสนเทศ โรงพยาบาลโคกสำโรง รายงานการคลอดปีงบประมาณ 2564-2566.

งานสารสนเทศ โรงพยาบาลโคกสำโรง รายงานการคลอดปีงบประมาณ 2564-2566.

ปรียา สุวนิช. (2561). การพยาบาลผู้คลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์.โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 27(1), 42-53.

สุภาพร สุภาทวีวัฒน์. (2564). การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่มีความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ชนิดรุนแรงร่วมกับมีภาวะแทรกซ้อน : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 18(3), 147-160.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30