ประสิทธิผลของการใช้โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วม ของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยติดสุรา โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • แสงเดือน ศรีวรสาร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดสุรา, การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม, การมีส่วนร่วมของครอบครัว

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยติดสุรา ศึกษาในกลุ่มผู้ป่วยโรคติดสุราที่มารับบริการในคลินิกรุ่งอรุณ โรงพยาบาลโพนสวรรค์ ศึกษาในช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม 2567 จำนวน 35 คน เปรียบเทียบก่อนและหลัง ชนิดแบบ 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินพฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุรา แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคติดสุรา แบบสอบถามความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุรา ความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคติดสุรา ความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาล และความเป็นไปได้ของการใช้โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยติดสุรา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างเพื่อเปรียบเทียบโดยใช้สถิติ Paired t-test
     ผลการศึกษา : พบว่า 1) พฤติกรรมการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราหลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ความพึงพอใจของผู้ป่วยโรคติดสุราต่อโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยติดสุรา พบว่า หลังการทดลองมีค่าคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความพึงพอใจของบุคลากรทางการพยาบาลต่อโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยติดสุรา พบว่า หลังการพัฒนาระบบมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาระบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

References

World Health Organization. (2013). Global action plan for the prevention and control of noncommunicable diseases 2013-2020. Geneva: World Health Organization; 65-70

World Health Organization. (2019). Global status report on alcohol and health 2018. World Health Organization. Retrieved March 20, 2019, from https:/apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/ 274603/9789241565639 -eng.pdf

โสภิต นาสืบ และอรทัย วลีวงศ์. (2560). สำนักวิจัยนโยบายสร้างเสริมสุขภาพ (สวน.) ศูนย์วิจัย ปัญหาสุรา. เรียกใช้เมื่อ 20 มีนาคม 2565 จาก http://thaincd.com/document/ doc/meeting-seminar/download1no502.pdf

อธิบ ตันอารีย์และพลเทพ วิจิตรคุณากร. (2562). สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และดัชนีความ เสี่ยงต่อปัญหาแอลกอฮอล์ของจังหวัดในประเทศไทย: ข้อมูลสำรวจ พ.ศ. 2560. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 13(4): 353-367.

วารีพร ชูศรี, บุตรี โรจน์พงศ์, จุฑามาศ พรหมมนตรีและสรัญณี อุเส็นยาง. (2561). ผลกระทบต่อครอบครัวจากการดื่มสุราของผู้ป่วยโรคติดสุราที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใน เขตจังหวัดสงขลา. สงขลา: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.

ธิษณามา โพธิ์งาม และเพ็ญพักตร์ อุทิศ. (2561). ผลของโปรแกรมการบำบัดสัมพันธภาพของคู่สมรส แบบสั้นต่อพฤติกรรมการดื่มสุราในผู้ป่วยโรคติดสุรา. วารสารพยาบาลทหารบก, 19, 450-458.

กัลฐิพร ชัยประทานพงษ์และเรืองศิริ ภานุเวศ. (2566). ประสิทธิผลของการบําบัดทางจิตสังคมด้วยโปรแกรมสติบําบัด ต่อระดับปัญหาการดื่มสุรา และระยะเวลาการกลับไปเสพติดสุราซ้ำของผู้ป่วยโรคติดสุราที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลหนองบัวลำภู. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(1), 258-275.

Sellman, J. D., Sullivan, P. F., Dore, G. M., Adamson, S. J., & MacEwan, I. (2001). A Randomized controlled trial of motivational enhancement therapy (MET) for mild to moderate alcohol dependence. Journal of Studies on Alcohol 2001; 62(3): 389 – 96.

บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร, และเบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2544). จริยธรรมสำหรับการศึกษาวิจัยในคน. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

นุจรินทร์ บัวละคร, รังสิมันต์ สุนทร ไชยาและสารรัตน์ วุฒิอาภา. (2560). ผลของโปรแกรมการ บำบัดเพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจ โดยครอบครัวมีส่วนร่วมต่อความร่วมมือในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยในโรคร่วมจิตเภทและสุรา, (No. 138194). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

บุษกร วรากรอมรเดช, มรรยาท รุจิวิชชญ์และชมชื่น สมประเสริฐ. (2560). ผลของการใช้โปรแกรมการสร้างจินตนาการร่วมกับการบําบัดความคิดและพฤติกรรมต่อการป้องกันพฤติกรรมการติดซซ้ำในผู้ป่วยติดสุรา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 31(3), 45-57.

Miller, W.R. & Rollnick, S. (1995). Motivational interviewing: What is MI?. Behavior and cognitive psychotherapy, Retrieved from: Http://M Motivational Interview.drg/clinical/interaction.html.

กนกวรรณ พวงมาลีประดับ, สมบัติ สกุลพรรณ์ และดาราวรรณ ต๊ะปินตา. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการบำบัดทาง ความคิดและพฤติกรรมในผู้ป่วยโรคติดสุรา โรงพยาบาลธัญญารักษ์แม่ฮ่องสอน. พยาบาลสาร, 47(2), 297-309.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-30