การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, โรคปอดอักเสบ, ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือดบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ศึกษาจากผู้ป่วย 2 ราย เลือกแบบเฉพาะเจาะจงในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อใน กระแสเลือดที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเปือยน้อย โดยการศึกษาประวัติผู้ป่วย การรักษาพยาบาลรวบรวมข้อมูลจากผู้ป่วย ญาติ และเวชระเบียน กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลโดยใช้แนวคิด การประเมินแบบแผนสุขภาพ 11 แบบ แผนของกอร์ดอน และ 7 aspect of care วิเคราะห์ข้อมูลวางแผนปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาล
ผลการศึกษา : พบว่าผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่เหมือนกัน ได้แก่ 1) เสี่ยงต่อระบบทางเดินหายใจล้มเหลวเนื่องจากมีการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง 2) มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด 3) ไม่สุขสบายเนื่องจากมีไข้หนาวสั่น 4) มีความวิตกกังวลจากการเจ็บป่วย วิกฤตและได้รับการส่งต่อไปรับการรักษาในโรงพยาบาลประจำจังหวัด ส่วนข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่มีความแตก ต่างกันในผู้ป่วยรายที่ 1 ได้แก่ 1) เสี่ยงต่อภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ 2) มีภาวะ ช็อคจากการสูญเสียเลือดจากการมีเลือดออก ในระยะทางเดินอาหารส่วนบน 3) เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้ม ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ได้แก่ 1) เสี่ยงต่อการชักและ การเกิดอุบัติเหตุ 2) เสี่ยงต่อภาวะเลือดออกง่าย 3) สูญเสียพลังอำนาจ ในตน ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย มีข้อวินิจฉัยการพยาบาลที่ แตกต่างกัน เนื่องจากภาวะสุขภาพและโรคร่วมที่แตกต่างกันแต่ภาวะ วิกฤตที่เกิดขึ้นเหมือนกันคือ มีภาวะช็อคจากการ ติดเชื้อในกระแสเลือด การรักษาพยาบาลจึงมุ่งเน้นการแก้ไขภาวะวิกฤตให้ผู้ป่วยปลอดภัยและนำส่งไปรับการรักษาใน โรงพยาบาลประจำจังหวัดที่มีศักยภาพสูงกว่า พร้อมทั้งให้คำแนะนำเสริมสร้างพลังใจแก่ผู้ป่วยและญาติ ผลลัพธ์ทางการ พยาบาลผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลและส่งต่ออย่างปลอดภัย พ้นภาวะวิกฤตที่คุกคามชีวิตสามารถกลับมาดำรงชีวิต ร่วมกับภาวะการเจ็บป่วยของตนเองและมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่เหมาะสม
References
สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. อัตราป่วยตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2565. นนทบุรี. กระทรวงสาธารณสุข. 2565.
กองบริหารการสาธารณสุข. คู่มือสำหรับประชาชนเรื่องเซ็พสิส (Sepsis) (Internet). 2565 (เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566). เข้าถึงได้จาก: https://phdp.moph.go.th/main/index/downloadlist/53/2
งานเวชสถิติ. รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปี. ขอนแก่น. โรงพยาบาลเปือยน้อย. 2566.
รัฐภูมิ ชมพูนุช. Septic Fast Track. อ้างใน: ดุสิต สถาภร, ครรชิต ปิยะเวชวิรัตน์, สหดล ปุญญถาวร. ICU Everywhere. กรุงเทพฯ. บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์. 2561.
Rhodes A,Evans LE, Alhazzani W, Levy MM, Antonell M, Ferrer R, et al. Surviving sepsis campaign: interna tional guidelines for management of sepsis and septic shock: 2016. Intensive Care Med 2017.
Beth MM, Elizabeth B. Managing sepsis and Septic shock: Current guidelines and definition. AJN. 2018.
นนทรัตน์ จำเริญวงศ์, สุพรรณิกา ปิยะรักษ์, ชยธิดา ไชยวงษ์. การประเมินและการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2563.
กนกพร เทียนคำศรี และธนพล บรรดาศักดิ์. การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2562.
ภัทรศร นพฤทธิ์, แสงไทย ไตรยวงค์ และจรินทร์ โคตรพรม. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 2562.
ศิริรัตน์ ปานอุทัย และทิพาพร วงศ์หงส์กุล. การปฏิบัติการพยาบาลทางอายุรกรรม. เชียงใหม่. สมารทโคทติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จำกัด. 2562.
อุไร มิตรปราสาท. การพยาบาลผู้ป่วยปอดอักเสบที่มีภาวะหายใจล้มเหลวเฉียบพลันร่วมกับมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด : กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. 2563.