ผลของโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
คำสำคัญ:
โปรแกรมการจัดการความเสี่ยง, การพลัดตกหกล้ม, ผู้สูงอายุบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ โรงพยาบาลทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร ระหว่างเดือนมกราคม-มีนาคม 2567 กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้แก่ สมรรถภาพทางกาย ความกลัวในการหกล้ม ความสามารถในการทรงตัว และพฤติกรรมป้องกันการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ Paired t-test
ผลการศึกษา พบว่า โปรแกรมการจัดการความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ใน 8 สัปดาห์ คือ สัปดาห์ที่ 1 ชี้แจงการจัดกิจกรรม สัปดาห์ที่ 2 การจัดการความเสี่ยง สัปดาห์ที่ 3 วิธีการออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 4-6 การฝึกออกกำลังกาย สัปดาห์ที่ 7 การปรับสิ่งแวดล้อม สัปดาห์ที่ 8 ประเมินผล พบว่า หลังได้รับโปรแกรมผู้สูงอายุมีสมรรถภาพโดยรวมเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -8.231, df=51, p<0.001) มีความสามารถในการทรงตัวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= -7.524, df=51, p<0.001) มีพฤติกรรมป้องกันการหกล้มเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-8.363, df=51,p<0.001) มีความกลัวลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t= 6.651, df=52, p<0.001) และไม่มีการพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 36.5 เป็นร้อยละ 63.5
References
WHO. Thailand’s leadership and innovations towards healthy ageing. [Internet]. 2023. [Cited 2023 June 2]. Available from: https://www.who.int/thailand
Odasso MM, van der Velde N, Martin FC, Petrovic M, Tan MP, Ryg J, et al. World guidelines for falls prevention and management for older adults: a global initiative. [Internet]. 2022. [Cited 2023 May 2]. Available from: https://academic.oup.com/ageing/article/51/9/afac205/6730755
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. บทความเรื่อง สังคมผู้สูงอายุ : นัยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ. [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก http://www.stou.ac.th/stouonline/lom/data/sec/Lom 12/05-01.html.
สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรค ประจำปี 2560. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก http://www.boe.moph.go.th/Annual
นิพา ศรีช้าง, วิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้ม ของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 – 2564. สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. [อินเตอร์เน็ต]. 2564. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก http://www.thaincd.com
กองป้องกันการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค. รายงานสรุปผลการประเมินความรอบรู้การป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ปีงบประมาณ 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจากhttps://ddc.moph.go.th/uploads/files/37140202309190758
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2564. นนทบุรี: กองสถิติพยากรณ์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2565.
สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2562. [เข้าถึงเมื่อ 17 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงจาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. ข้อมูลจาก HDC จังหวัดชุมพร. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2566]. เข้าถึงจาก: http://www.cmpo.moph.go.th/cmpo
Rosenstock IM. Historical origins of the health belief model. Health Education Monographs 1974; 2: 328-35.
Bandura. Self-efficacy: The exercise of control. New York: W.H. Freeman and Company, 1997.
อรุณ จิรวัฒน์กุล. สถิติในงานวิจัย เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์, 2557.
จรัญญา ส่งเสริม. ผลของโปรแกรมป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน. วารสารโรงพยาบาลนครพนม 2564; 8(1): 73-83.
Likert R. "The Method of Constructing an Attitude Scale," Reading in Attitude Theory and Measurement. edited by Martin Fishbein. New York: John Wiley & Son, 1967.
Best JW. Research in Education. New Jersey: Prentice hall Inc., 1977.
ทิวาพร ทวีวรรณกิจ, สุกัลยา อมตฉายา, พรรณี ปึงสุวรรณ, ลักขณา มาทอ. การทรงตัว การล้ม และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่เคลื่อนไหวและไม่เคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด 2553; 22(3): 271-79.
กาญจนา พิบูลย์. โครงการวิจัยเรื่อง ประสิทธิผลของโปรแกรมป้องกันการหกล้มแบบสหปัจจัยในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชน. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2562.
ปริศนา รถสีดา. การป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุในชุมชน: บทบาทพยาบาลกับการดูแลสุขภาพที่บ้าน. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2561; 11(2): 15-25.
ญาดานุช บุญญรัตน์. การป้องกันการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยมีผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง. ลำปางเวชสาร 2561; 39(1): 41-43.
จิรพัฒน์ นาวารัตน์, มูรณีย์ ดารามัน, วันวิสาข์ สุตระ, จุฬาลักษณ์ จิตรสว่าง, อรพรรณ มีเงิน. ค่าจุดตัดความเร็วในการเดินสำหรับทำนายการกลัวการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2561; 21(3): 317-24.
Emerson PN. Fall-Risk Assessment and Intervention to Reduce Fall-related Injuries and Hospitalization among Older Adults. The Journal for Nurse Practitioners. 2023; 19(1): 104397. doi:10.1016/j.nurpra.2022.07.005
ธีรภัทร อัตวินิจตระการ, ชวนนท์ อิ่มอาบ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการเตรียมความพร้อมและป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ. วารสารแพทย์เขต 4-5, 2562; 38(4): 288-98.
มานิตา รักศรี, นารีรัตน์ จิตรมนตรี, เสาวลักษณ์ จิรธรรมคุณ. ผลของโปรแกรมการปรับความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรม ป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยสูงอายุในโรงพยาบาล. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย 2562; 12(2): 134-50.
Karpusenko T, Alfonsi M, Cirino NT de O, et al. Factors associated with unrecovered falls among older adults. Geriatric Nursing. 2023; 51: 323-29.