การพัฒนารูปแบบความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ด้านโรคติดต่อและไม่ติดต่อในพื้นที่ ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • จรรยา คุณภาที โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุข, ความรอบรู้ด้านสุขภาพ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One Group Pretest-Posttest Design) เพื่อประเมินผลรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านโรคติดต่อและไม่ติดต่อเรื้อรัง ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตพื้นที่ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างคืออาสาสมัครสาธารณสุข ตำบลบ้านม่วง อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี จำนวน 82 คน ทำการสุ่มเลือกรายชื่อของอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อเป็นตัวแทนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบมีระบบ (Systematic Random sampling) ดำเนินการทดลองโดยให้กลุ่มเป้าหมายได้รับกิจกรรมการให้ความรู้และการฝึกปฏิบัติ จำนวน 4 กิจกรรม ระยะเวลา 12 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าโดยใช้สถิติ Independent Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
     ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็น เพศหญิงร้อยละ 56.10 อายุเฉลี่ย 56.34 ปี (Min=37 ปี , Max=84 ปี , S.D.=9.21) สถานภาพสมรสคู่ร้อยละ 80.50 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ37 อาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 75.60 รายได้เฉลี่ย7,148 บาท/เดือน(Min=1,200 บาท , Max=50,000 บาท , S.D.= 6,881.16) ระยะเวลาการเป็น อสม.เฉลี่ย 19.82 ปีโดยเป็น อสม. มากกว่า 30 ปี ร้อยละ 30.49 (Min=1ปี,Max=46 ปี,S.D.= 11.92) ระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดี (X=22.3,S.D=3.06) ระดับพฤติกรรมสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับพอใช้ (X=6.41,S.D.=5.05) ภายหลังการเข้าร่วมรูปแบบการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพด้านโรคติดต่อและไม่ติดต่อเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านความรอบรู้สุขภาพดีกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมและคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมสุขภาพดีกว่าก่อนการเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ(p-value<0.05) ยกเว้นพฤติกรรมด้านการสูบบุหรี่

References

รายงานข้อมูลของกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

กรมควบคุมโรค. 2562.รายงานสถานการณ์โรค NCDs เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง พ.ศ. 2562.

HDC.ข้อมูลเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อ (NCD DM,HT,CVD). เข้าถึงได้จาก:http://udn.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php ออนไลน์ 20 ธันวาคม 2566.

กองวัณโรค,2564. รายงานสถานการณ์และการเฝ้าระวังวัณโรคประเทศไทย ออนไลน์ www.tbthailand.org. ออนไลน์ 27 กุมภาพันธ์ 2566.

กองสุขศึกษา. รายงานผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ พ.ศ. 2565.กรุงเทพฯ.2565.

ขวัญเมือง แก้วดำเกิง, ดวงเนตร ธรรมกุล. การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพในประชากรผู้สูงวัย.วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2558;9(2):1-8.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. คู่มือ อสม. ยุคใหม่. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2562.

Nutbeam D. The evolving concept of Health literacy. Soc Sci Med. 2008;67:2072-8.

นิสา ปัญญา.ความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประจำบ้าน เขตสุขภาพที่ 10. [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึง เมื่อ 13ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: ความรอบรู้ด้านสุขภาพของ อสม. หมอประ.pdf (moph.go.th)

จุฑาภรณ์สว่างเมฆ.ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม) หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นแบบจังหวัดกระบี่. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน 2565;6(3):121-129

กัลยาณี ตันตรานนท์ อนนท์ วิสุทธิ์ธนานนท์ เดชา ทำดี.(2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพชุมชน ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ พยาบาลสาร 46 (4) 49-58

ประภัสสร งาแสงใส, ปดิรดา ศรีเสียน, สุวรรณา ภัทรเบญจพล. กรณีศึกษาความฉลาดทางสุขภาพของอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน. ว.เภสัชศาสตร์อีสาน 2557;9:82-7.

วรรณรัตน์ รัตนวรางค์. วิทยา จันทร์ทา. ความฉลาดทางสุขภาพด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จังหวัดชัยนาท. The Journal of Baromarajonani College of Nusing, Nakhonratchasima.2561;24(2):34-51.

เบญจวรรณ บัวชุ่ม.ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลป่างิ้ว อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย.ารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.2563;16(3): 49-58.

จิตติยา ใจคาและคณะ.ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพตามหลัก 3อ. 2ส. ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อาเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลาพูน. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ 2564;8(2):1-24.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, รัถยานภิศ รัชตะวรรณ, บุุญประจักษ์์ จันทร์วิน. ปัจจัยที่่มีอิทธิพลต่่อพฤติกรรมการป้องกันตัวเองและสังคมจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019ในการปฏิบัติหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(12):360-75.

รัฐพล อินทรวิชัย,บรรจบ แสนสุุข,สวิณีย์ ทองแก้ว,ประเสริฐ ประสมรักษ์,กรกวรรษ ดารุนิกร.ผลการพัฒนาศักยภาพและบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านด้านการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดยโสธร. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2566;21(1):23-36.

พิศมัย สุขอมรรัตน์,พิณญาดา อาภัยฤทธิ์. ประเมินผลการพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามนโยบายชุมชนสร้างสุข : “สุขกาย สุขใจ สุขเงิน” [อินเตอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึง เมื่อ 13ธันวาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:http://www.hed.go.th/linkHed/387

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30