รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • อภิรักษ์ วัฒนวิกกิจ สาธารณสุขอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, ระบบการดูแลผู้สูงอายุ, ศูนย์ชีวาภิบาล

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้สูงอายุ รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุ และพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล  เขตอำเภอบางปะอิน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยรูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน Wilcoxon Matched Paired Signed Rank Test และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแลกเปลี่ยนวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์ประเด็น ตามลำดับชั้นของข้อมูล
     ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 71.0 มีอายุ 80 ปีขึ้นไป ร้อยละ 52.0 การเปรียบเทียบการดูแลพฤติกรรมสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล พบว่า ก่อนเข้าร่วมกิจกรรม ผู้ดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล มีพฤติกรรมสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล ในระดับปานกลาง แต่หลังเข้าร่ววมกิจกรรม พฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล อยู่ในระดับดี การประเมินกิจวัตรประจำวันผู้ผู้สูงอายุ โดยใช้แบบประเมิน ADL พบว่า หลังเข้าร่วมกิจกรรมมีคะแนน ADL เฉลี่ยเพิ่มขึ้น และการวิเคราะห์ข้อมูลผลต่างของการประเมินกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุ ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรม พบว่า ผลการประเมินประเมินกิจวัตรประจำวัน (ADL) ของผู้สูงอายุ มีค่ามัธยฐานของผลต่าง 0 ก่อนและหลังเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ช่วงเชื่อมั่น 95% CI ของค่ามัธยฐานของผลต่าง -1 ถึง 0

References

อนันต์ อนันตกูล, (2560). สังคมสู่วัย... ความท้าทายประเทศไทย (Online). (http://www. royin.go.th/wpcontent/uploads/2017/12/%E0%B8%AA%E0%B8%B1% E0%%B8%87%E0%B8%84%E0%B8)

สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ และปาณิสรา เทพรักษ์, (2563). การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุจังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(1): 67-82.

สภาการพยาบาล, (2563). คู่มือการรับรองสถาบันการศึกษาวิชาการพยาบาลและผดุงครรภ์ สำหรับสถาบันการศึกษาที่มีผู้สำร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. นนทบุรี: บริษัท จุดทอง จำกัด. พิมพ์ครั้งที่ 1.

กระทรวงสาธารณสุข, (2567). คู่มือดำเนินการตามนโยบายสถานชีวาภิบาล 2024. กองบริหารการสาธารณสุข, สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข (Online). (https://phdb.moph.go.th/main/upload/web_news_files/c8214x94sx4ogookg8.pdf)

ณิสาชล นาคกุล, (2564). การศึกษาปัญหาและความต้องการทางสุขภาพของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลดอยฮาง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(2): 43-56.

เบญจพร สว่างศรี และเสริมศิริ แต่งงาม, (2556). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(1): 39-48.

ชวลิต สวัสดิ์ผล และชวลิต สวัสดิ์ผล, (2560). การพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่นเพื่อผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์ 18(1): 43-56.

ปัทมา ผ่องศิริ, สุวรรณา วุฒิรณฤทธ์ และลัดดา เหลืองรัตนมาศ, (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตสุขภาพที่ 6. ราชาวดีสาร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนี สุรินทร์, 12(1): 32-49.

ราตรี โพธิ์ระวัช, (2562). การพัฒนาความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุติดเตียงด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทศโนโลยี, 16(3): 25-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

วัฒนวิกกิจ อ. (2024). รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุและพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุในคลินิกชีวาภิบาล เขตอำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา . วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 49–58. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2678