ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการคัดกรองผู้ป่วยตามความเร่งด่วนสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • รัตติยา แสดคง โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร

คำสำคัญ:

งานผู้ป่วยนอก, การคัดกรองผู้ป่วย, การฝึกอบรม

บทคัดย่อ

     การศึกษากึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการคัดกรองผู้ป่วยตามความเร่งด่วนสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1 ผู้ป่วยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่เข้ารับการตรวจโรคทั่วไปแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลวานรนิวาสระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567 เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามความรู้ แบบสอบถามการปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยตามความเร่งด่วน แบบบันทึกความถูกต้องในการคัดกรองผู้ป่วย และแบบบันทึกจำนวนผู้ป่วยมีอาการทรุดขณะรอตรวจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบใช้ nonparametric Wilcoxon signed rank test
     ผลการศึกษาพบว่าพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอกทั้งหมดเป็นเพศหญิง ร้อยละ 100.00 อายุระหว่าง 30-39 ปี ร้อยละ 58.83 สถานภาพสมรส คู่ ร้อยละ 47.06 จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 100.00 รับราชการ ร้อยละ 82.35 ระยะเวลาปฏิบัติงานแผนกผู้ป่วยนอกมากกว่า 10 ปี ร้อยละ 41.18 การเปรียบเทียบผลลัพธ์พบว่าหลังได้รับโปแกรมการฝึกอบรมพยาบาลวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และการปฏิบัติการคัดกรองผู้ป่วยสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (Z=-3.097, p=0.002; Z=-3.558, p<0.001) และก่อนได้รับโปรแกรมพยาบาลวิชาชีพคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องร้อยละ 92.83 และคัดกรองผู้ป่วยไม่ถูกต้อง ร้อยละ 7.17 หลังได้รับโปแกรมพบว่ามีการคัดกรองผู้ป่วยถูกต้องเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 96.04 และมีคัดกรองผู้ป่วยไม่ถูกต้องลดลงเป็นร้อยละ 3.96 นอกจากนี้ยังพบว่าก่อนดำเนินโปรแกรมการฝึกอบรมพบผู้ป่วยมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจร้อยละ 0.82 และหลังดำเนินโปรแกรมพบผู้ป่วยมีอาการทรุดลงขณะรอตรวจลดลงเป็นร้อยละ 0.41

References

สำนักการพยาบาล. มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: สำนักการพยาบาล กรมการแพทย์;2551.

Jirasinthipok T, Jermwiwatnakul P, Nittayangkun S, Wongsuansiri S, Wongcharoen S, editors. Standards of Nursing Care. 2nd ed. Nonthaburi: Wvo Officer of Printing Mill;2008.

Christ M, Goransson F, Winter D, Bingisser R, Platz E. Modern Triage in the Emergency Department. Medicine 2010,107(50),892-898.

Hoot N, & Aronsky D. Sytematic review of emergency department Crowding: Cause, effects, and solution. Annuals of Emergency Medicine 2008:53(2),126-136.

นงค์เยาว์ อินทรวิเชียร. การศึกษาคุณภาพการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และการศึกษา 2562,2(2),43-53.

ชลลดา ทอนเสาร์, วิภาดา วิจักขณาลัญฉ์, เกียรติศักดิ์ ชัยพรม, พิมพิมาน แหล่งสท้าน, เปรมสุดา จันทพิมพ์, ภรณ์พินิจ แสนสุข และไมตรี ทอนเสาร์. (23 มีนาคม 2563). การศึกษาการคัดแยกประเภทผู้ป่วยฉุกเฉิน แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. The 7th National Conference Nakhonratchasima College 2020.

ดารุณี จันฤาไชย, พนารัตน์ เฒ่าอุดมและพัชลิน หุนติราช. รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ปวยงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลอาจารย์ฟั่น อาจาโร จังหวัดสกลนคร. OPEN ACCESS SAKON NAKHON PROVINCIAL PUBLIC HEALTH OFFICE 2564,1-17.

กงทอง ไพศาล. การพัฒนาระบบการคัดแยกผู้ป่วย งานการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2562,12(1),93-100.

พิมพา วีระคำ, คัคนนันทร์ วิริยาภรณ์ประภาส, ศิริพร จักรอ้อม และ พิชญุตม์ ภิญโญ. ประสิทธิผลของการอบรมการคัดแยกผู้ป่วยตามระบบ MOPH ED Triage ต่อความถูกต้องของการคัดแยกผู้ป่วย โดยเจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลแม่สาย. วารสารกรมการแพทย์ 2562,44(5),70-74.

วัชราภรณ์ โต๊ะทอง. ประสิทธิผลการใช้รูปแบบการคัดกรองผู้ป่วยโดยใช้เกณฑ์การคัดกรองเร่งด่วนต่อระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย ความแม่นยำการคัดกรง และการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลคัดกรองงานอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารการพยาบาล สุขภาพ และสาธารณสุข 2565, 1(2),1-11.

มยุรี มานะงาน. ผลของการใช้แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยตามระดับความฉุกเฉิน งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจักราช อำเภอจักราช จังหวัดนครราชสีมา. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2563, 34(3),52-65.

Bloom BS. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill;1971.

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. MOPH ED. Triage. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี;2561.

Nadler L. Corporate Human Resource Development: A Management Tool. Housto:Gulf;1980.

เทพีรัตน์ เทศประสิทธิ์. การพัฒนาระบบการคัดแยกประเภทผู้ป่วยงานผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลโชคชัย. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2564, 15(36), 160-178.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30