การพัฒนารูปแบบปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน

ผู้แต่ง

  • นิพนธ์ กุลนิตย์ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, ภาวะโภชนาการเกิน, พฤติกรรมสุขภาพในเด็ก

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) คือ เด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน โดยเข้าเกณฑ์ ท้วม เริ่มอ้วน อ้วน ตามกราฟมาตรฐานการเจริญเติบโตเด็กอายุ 6-19 ปี จำนวน 32 คน ดำเนินกิจกรรมระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 ถึง กันยายน 2566  โดยใช้แบบสังเกตการณ์มีส่วนร่วม  แบบสอบถาม ประกอบด้วย การประเมินภาวะโภชนาการของเด็ก ข้อมูลพื้นฐานของครอบครัว การรับรู้ความสามารถของตนเองของในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโภชนาการเกินของเด็ก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด-สูงสุด สถิติ Paired t-test
     ผลการศึกษาทำให้ได้รูปแบบปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน ผลการดำเนินกิจกรรมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 32 คน พบว่า หลังได้รับกิจกรรมฯ กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน ด้านโภชนาการ ด้านการออกกำลังกาย และพฤติกรรมสุขภาพในการป้องกันภาวะโภชนาการเกิน ด้านการจัดการความเครียด สูงกว่าก่อนได้รับกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p-value <0.05 นักเรียนที่เข้าเกณฑ์ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน มีจำนวนลดลง จาก 32 คน เป็น 22 คน (ลดลง 31.2%) 

References

World Health Organization. (2020). Obesity and overweight [online]. [cited 2021 September 10]; Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

กรมอนามัย. (2563). รายงานประจำปีกรมอนามัย 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://nich.anamai.moph.go.th/th/general-of-50

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2563). คู่มือการควบคุมและป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1998). The Participation Action Research Reader (3 ed.). Geelong: Deakin University Press.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy. In V. S. Ramachaudran (Ed.), Encyclopedia of human behavior (Vol. 4, pp. 71-81). New York: Academic Press.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2565). รายงานประจำปี 2565. กระทรวงสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สํานักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Best, J.W., & Kahn, J.V. (1997). Research in Education. (8th ed). Boston: Allyn & Bacon.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw–Hill.

สายสุนีย์ อ้ายโน, สมสมัย รัตนกรีฑากุล และ สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ. (2561). ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่ออัตราภาวะโภชนาการเกินของเด็กนักเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 32(1), 86-97.

พลอยปารียา อายะนันท์, ตุนท์ ชมชื่น และ ฐิติอาภา ตั้งค้าวานิช. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเกิดโรคอ้วนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. 7(1), 75-89.

สุจิตรา นวลสินธุ์. (2561). แบบรายงานผลการดำเนินงานโครงการแก้ปัญหานักเรียนที่มีภาวะโภชนาการอ้วนและเริ่มอ้วน ประจำปีการศึกษา 2561. โรงเรียนเจริญรัตน์ศึกษาวัฒนา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา.

Brown, T., Thereas, H.M., Moore, L.H. (2019). Interventions for preventing obesity in children (Review). Cochrane Library. Published by John Wiley & Sons, Ltd. Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. (4th ed.). New York: Harper & Row.

นัชชา ทัตตานนท์ และคณะ. (2563). ศึกษารูปแบบการแก้ไขปัญหาโรคอ้วนในเด็กวัยเรียนอายุ 6-15 ปี โดยอาศัยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย. ศูนย์อนามัยที่ 5 จังหวัดราชบุรี.

Suwankhong, D. (2019). Perceptions of Overweight and Obese Students among Guardians, Community Leaders and Community Members in a Rural Community Southern Thailand. Journal of Public Health, 49(1), 55-62.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30