การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิพนธ์ กุลนิตย์ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนาโปรแกรม, ภาวะโภชนาการเกิน, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมส่งเสริมโภชนาการเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling)  คือ ผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในเขตอำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งสิ้น 113 คน และ ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 36 คน เปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยคะแนนความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนการเกินในเด็กเล็ก ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินในเด็กของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน พฤติกรรมการบริโภคของเด็ก และพฤติกรรมการออกกำลังกายของเด็กก่อนวัยเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ด้วยสถิติ Paired t-test ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ P-value <0.05
     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เกี่ยวกับภาวะโภชนการเกินในเด็ก ทัศนคติเกี่ยวกับภาวะโภชนาการเกินในเด็กของผู้ปกครองเด็กก่อนวัยเรียน พฤติกรรมการบริโภคของเด็ก และพฤติกรรมการออกกำลังกายของเด็กก่อนวัยเรียน สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value <0.05 แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างได้ประโยชน์จากโปรแกรมฯ และนำความรู้และกิจกรรมจากการเข้าร่วมไปปรับใช้กับเด็กก่อนวัยเรียนในความปกครอง ส่งผลให้เด็กเล็กที่เข้าเกณฑ์ท้วม เริ่มอ้วน และอ้วน มีจำนวนลดลง จาก 20 คน เป็น 18 คน คิดเป็นลดลง ร้อยละ 10.0

References

กรมอนามัย. (2563). รายงานประจำปีกรมอนามัย 2563 [ออนไลน์]. [สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2565]; แหล่งข้อมูล: https://nich.anamai.moph.go.th/th/general-of-50

สถาบันพัฒนาอนามัยเด็กแห่งชาติ กรมอนามัย. (2564). แนวทางการส่งเสริมคุณภาพสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านสุขภาพ (4D) ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สำนักโภชนาการ กรมอนามัย. (2563). คู่มือการควบคุมและป้องกันภาวะโภชนาการเกินในเด็กนักเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. (2565). ผลการประเมินสถานการณ์ภาวะโภชนาการเกินในเด็กก่อนวัยเรียนที่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เขตพื้นที่รับผิดชอบศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี ในปี พ.ศ. 2565. อุบลราชธานนี: รายงานประจำปีศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1998). The Participation Action Research Reader (3 ed.). Geelong: Deakin University Press.

Cronbach, L. J. (1984). Essential of psychology testing. (4th ed.). New York: Harper & Row.

New Zealand Ministry of Health. (2012). Food and nutrition guidelines for healthy children and young people (aged 2-18 years). Ministry of Health.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York : McGraw–Hill.

Best, J.W., & Kahn, J.V. (2006). Research in Education 10th Edition, Pearson Education Inc., Cape Town.

สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, อาภาวรรณ หนูคง, ณัฐธิรา ไกรมงคล, และ รุ่งรดี พุฒิเสถียร. (2560). การนำแนวทางการส่งเสริมโภชนาการไปใช้ในเด็กก่อนวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารสภาการพยาบาล, 32(4), 120-133.

นิศารัตน ชูชาญ,และ ภานุวัฒน นิ่มนวล. (2565). ผลของโปรแกรมการส/งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสําหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 50(2), 1-12.

พิจาริน สมบูรณกุล และ เพ็ญ สุขมาก. (2563). ผลของกิจกรรมส่งเสริมโภชนาการสมวัยในโรงเรียนต่อพฤติกรรมการจัดอาหารให้เด็กวัยเรียนของผู้ปกครอง ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(5), 847-854.

อมรศรี ฉายศรี, สุปาณี เสนาดิสัย และ วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. (2562). การมีส่วนร่วมของโรงเรียน ผู้ปกครอง ศูนย์สุขภาพชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดำเนินงานอนามัยโรงเรียน: กรณีศึกษา. รามาธิบดีพยาบาลสาร,17(3), 506-519.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30