การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • อนุชิต ขันทะชา โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
  • วราลี วงศ์ศรีชา โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม
  • วนัสนันท์ ไตรยราช โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยจิตเวช, รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช, ผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยสุขภาพจิตและจิตเวช

บทคัดย่อ

      การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลนาแก จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มผู้ป่วยโรคความผิดปกติทางจิต (Psychotic disorder) จำนวน 120 คน โดยมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การประชุมเชิงปฏิบัติการ (works shop) เพื่อระดมความคิดเห็น (focus group) แบบทดสอบและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ข้อมูลทั่วไปทั่วไป,ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของการพัฒนารูปแบบโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และเปรียบเทียบข้อมูลความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติ dependent Sample t-test
     ผลการศึกษาพบว่า 1) การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ทำให้ได้รูปแบบและแนวทาง/ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ในโรงพยาบาลที่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากขึ้น 2) ความพึงพอใจของทีมสุขภาพ,ทีมผู้เกี่ยวข้องและผู้ป่วยโรคความผิดปกติทางจิต (Psychotic disorder) หลังการพัฒนาระบบมีค่าคะแนนความพึงพอใจสูงกว่าก่อนการพัฒนาระบบ 3) ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช พบว่า หลังการพัฒนาระบบข้อมูลดัชนีชี้วัดของผู้ป่วยจิตเวช เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนา

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อ การก่อความรุนแรงสำหรับสถาบัน/โรงพยาบาล สังกัด กรมสุขภาพจิต. กรุงเทพฯ: บริษัทพรอส เพอรัสพลัส จำกัด. กรมสุขภาพจิต; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการดูแล กลุ่มเสี่ยงต่อ การก่อความรุนแรงและผู้ใช้ ยาเสพติด. กรมสุขภาพจิต; 2565.

ฐิตวันต์ หงษ์กิตติยานนท์,ผศ.ลักขณา ยอดกลกิจและมาลินี ชมชื่น.รูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชน จังหวัดนนทบุรี. การประชุมวิชาการและนำาเสนอผลงานวิจัย,ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6,วารสารบทคัดย่อกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2564.

ทองจันทร์ อุปจันทร์โท.การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพจิตชุมชนโดยการมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านยวด อำเภอสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี; 2566.

ภัครินทร์ ชิดดีและและคณะ.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลอำนาจเจริญ จังหวัดอำนาจเจริญ.วารสารวิชาการสาธารณสุข, VOL. 29 NO.3 (2020): MAY-JUNE 2020;(2563.

ธีระศิริสมุดและคณะ.การพัฒนารูปแบบระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน สำหรับ ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตสุขภาพจิตแบบบูรณาการในพื้นที่. วารสาร วิชาการสาธารณสุข; 2562,28(2): 158-171.

วรัทยา ราชบัญดิษฐ์. การพัฒนาระบบ การดูแลผู้ป่วยจิตเวช โรงพยาบาลปลาปาก จังหวัดนครพนม.วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 (2013); 2556.

รัศมี ชุดพิมาย. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในชุมชนด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม,ปีที่ 16 ฉบับที่ 3 (2022): (กันยายน - ธันวาคม 2565; 2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30