การพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิงโรงพยาบาลอุบลรัตน์

ผู้แต่ง

  • พวงเพชร จันทร์บุตร โรงพยาบาลอุบลรัตน์
  • เยาวลักษณ์ มัคคะน้อย โรงพยาบาลอุบลรัตน์
  • นิภา ไทโส โรงพยาบาลอุบลรัตน์
  • คณรัตน์ เดโฟเซซ์ โรงพยาบาลอุบลรัตน์
  • รัชนี พจนา โรงพยาบาลอุบลรัตน์
  • สุรดา โพธิ์ตาทอง โรงพยาบาลอุบลรัตน์
  • วราลักษณ์ กองสิน โรงพยาบาลอุบลรัตน์

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, การดูแลต่อเนื่อง, ผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์เพื่อนำมาพัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องในผู้สูงอายุภาวะพึ่งพิง และประเมินผลลัพธ์การพัฒนา ใช้กลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยสูงอายุภาวะพึ่งพิงและผู้ดูแล จำนวน 30 คู่ ดำเนินการวิจัยตั้งแต่กรกฎาคม 2566 –เมษายน 2567 เครื่องมือในการดำเนินการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความพึงพอใจของทีมต่อการพัฒนารูปแบบ แบบประเมินกิจวัตรประจำวัน (Activity Daily Living, ADL) และแบบประเมินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่บ้านของผู้ดูแล และความพึงพอใจของพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ สถิติ Pair t-test
     ผลการวิจัย พบว่า หลังจากการใช้รูปแบบ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจของทีมอยู่ในระดับพึงพอใจ (M=3.56, SD=0.76) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุและผู้ดูแลที่บ้านอยู่ในระดับดี (M=2.56, SD=0.52) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันก่อนและหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=-5.12, p<.05)

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2561 [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก http://thai.org/? p=38670.

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. คู่มือ แนวทางการจัดบริการสุขภาพ ผู้สูงอายุในสถานบริการสุขภาพ [อินเตอร์เน็ต]. 2557.[ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก: http://agingthai.dms.go.th/agingthai/wp-content/uploads/2021/01/book_5.pdf วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2566 Regional Health Promotion Center 9 Journal Vol. 17 No. 1 January-April 2023 270

สำนักงานวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน. การพัฒนาระบบดูแลผู้สูงอายุ. [อินเตอร์เน็ต]. 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลวันที่ 10 ธันวาคม 2565.จาก:https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/ 11228/2903/hs1670.pdf?sequence=3&isAllowed=y

กองการพยาบาล (2563). แนวทางการจัดเก็บตัวชี้วัดการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาล ประจำปีงบประมาณ 2563. (พิมพ์ครั้งที่ 1) ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ สื่อตะวันจำกัด.

พิศสมัย บุญเลิศ, เทิดศักดิ์ พรหมอารักษ์, และศุภดี แถวเพีย. (2559). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องสำหรับผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดงมัน ตำบลสิงห์โคก อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น, 23(2), 79-87.

ณิสาชล นาคกุล. (2018). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มติดบ้าน ติดเตียง ในเขตเทศบาลนครสุราษฎ์ธานี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 1(7), 36-50.

โรงพยาบาลอุบลรัตน์. ตัวชี้วัดงานเยี่ยมโรงพยาบาลอุบลรัตน์, 2564.

Ciccone,A., Celani, M. G., Chiaramonte, R., Rossi, C., & Righetti, E. (2013). Continuous Versus. IntermittentPhysiological Monitoring for Acute Stroke 2013: Intervention Review.

Nakgul,N. (2018). The Development of a Care Model for Home-Bound and Bed-Bound Chronically ill Patients in Suratthani Municipality. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 1(7),36-50. (In Thai)

Pischalad K., & Mulpanun K. (2016). Improvement of a Continuing Care Model in Child. Nursing Journal, 40(3),96-108. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30