ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกาย(Timed Up and Go, 30 second chair stand, 4 stage balance) ในผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • คณรัตน์ เดโฟเซซ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเลื่อม จังหวัดอุดรธานี
  • วราลักษณ์ กองสิน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเลื่อม จังหวัดอุดรธานี
  • รัชนี เจริญเพ็ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเลื่อม จังหวัดอุดรธานี
  • พวงเพชร จันทร์บุตร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเลื่อม จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

การจัดการตนเอง, การออกกำลังกาย, สมรรถภาพทางกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนหลังการทดลอง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองในการออกกำลังกาย ต่อความรู้ พฤติกรรมการจัดการตนเองในการออกกำลังกาย และสมรรถภาพทางกาย (Timed Up and Go, 30 second chair stand, 4 stage balance) ในผู้สูงอายุ เก็บรวบรวมข้อมูล เดือน มีนาคม 2567-  พฤษภาคม 2567  กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้าจำนวน 34 คนเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired t-test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05)
     ผลการศึกษา พบว่า 1) คะแนนความรู้เรื่องการออกกำลังกายหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -23.048, Sig. = .000) 2) คะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองในการออกกำลังกายหลังเข้าโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -39.929, Sig. = .000) 3) เวลาในการทดสอบ Timed Up and Go หลังเข้าโปรแกรมน้อยกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = 24.313, Sig. = .000) 4) สมรรถนะทางกายด้วยการทดสอบ 30 Second Chair Stand Test หลังเข้าโปรแกรมมากกว่าก่อนเข้าโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (t = -27.031, Sig. = .000)

References

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.

Thiamwong, L., Thamarpirat, J., Maneesriwongul, W., & Jitapunkul, S. (2008). Thai falls risk assessment test (Thai-FRAT) developed for community-dwelling Thai elderly. Journal of the Medical Association of Thailand, 91(12), 1823–1831.

Chodzko-Zajko, W. J., Proctor, D. N., Singh, M. A. F., Minson, C. T., Nigg, C. R., Salem, G. J., & Skinner, J. S. (2009). Exercise and physical activity for older adults. Medicine & Science in Sports & Exercise, 41(7), 1510-1530.

Burton, E., Farrier, K., Lewin, G., Pettigrew, S., Hill, A., Airey, P., Bainbridge, L., & Hill, K. D. (2017). Motivators and barriers for older people participating in resistance training: A systematic review. Journal of Aging and Physical Activity, 25(2), 311-324. https://doi.org/10.1123/japa.2015-0289

Jitapunkul, S., Kamolratanakul, P., Chandraprasert, S., & Kulapongse, W. (2020). A community survey of falls in the elderly in Thailand. Southeast Asian Journal of Tropical Medicine and Public Health, 31(3), 537-543.

Lorig, K., & Holman, H. (2003). Self-management education: History, definition, outcomes, and mechanisms. Annals of Behavioral Medicine, 26(1), 1-7. https://doi.org/10.1207/S15324796ABM2601_01

Tse, M. M. Y., Vong, S. K. S., & Tang, S. K. (2014). Motivational interviewing and exercise programme for community-dwelling older persons with chronic pain: A randomised controlled study. Journal of Clinical Nursing, 22(13-14), 1843-1856. https://doi.org/10.1111/j.1365-2702.2012.04317.x

คณรัตน์ เดโฟซซ์ .(2023).ผลของโปรแกรมออกกำลังกายเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่3 ในชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี.วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา https://so06.tci-thaijo.org/index.php/hej/issue/view/17677

สถาบันเวชศาสตร์สมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรเพื่อผู้สูงอายุ. แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและประเมินภาวะหกล้มในผู้สูงอายุ. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564, จากhttp://agingthai.dms.go.th/2021/01/book_9.pdf

ชนินันท์ วัชรินทร์วงศ์, พวงผกา ปวีณบำเพ็ญ และนฤมล ตรีเพชร. (2564). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(3), 33-45.

Michie, S., Van Stralen, M. M., & West, R. (2011). The behaviour change wheel: a new method for characterising and designing behaviour change interventions. Implementation Science, 6(1), 1-12.

Smith, G. L., Banting, L., Eime, R., O'Sullivan, G., & van Uffelen, J. G. (2017). The association between social support and physical activity in older adults: A systematic review. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 14(1), 56. https://doi.org/10.1186/s12966-017-0509-8

Liu, C. J., & Latham, N. K. (2009). Progressive resistance strength training for improving physical function in older adults. Cochrane Database of Systematic Reviews, (3).

Taylor, D. (2014). Physical activity is medicine for older adults. Postgraduate Medical Journal, 90(1059), 26-32. https://doi.org/10.1136/postgradmedj-2012-131366

Panyaek N, Sirivong D, Konharn K, Tunkamnerdthai O, Aneknun P, Leelayuwat N. Exercise intensity and substrate utilization in healthy sedentary females using the Life-Build-Line device. J Med Assoc Thai 2017; 100: 318-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

เดโฟเซซ์ ค., กองสิน ว., เจริญเพ็ง ร., & จันทร์บุตร พ. (2024). ผลของการส่งเสริมการจัดการตนเองในการออกกำลังกายต่อสมรรถภาพทางกาย(Timed Up and Go, 30 second chair stand, 4 stage balance) ในผู้สูงอายุ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 376–384. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2779