การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก ในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ฐาปริมนต์ วงศ์รัตนจิรากุล งานการพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัดและวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

คำสำคัญ:

รูปแบบการจัดบริการ, การระงับความรู้สึก, การผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดบริการและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 ถึง เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ จำนวน 66ราย เครื่องมือใช้แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกตามระยะก่อนผ่าตัด ขณะผ่าตัด หลังผ่าตัดแบบติดตามอาการภายใน 24 ชั่วโมงหลังจำหน่าย และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการตอบแบบสัมภาษณ์ การประชุมระดมสมองและการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
     ผลการศึกษา : รูปแบบที่พัฒนาขึ้นเป็นการปรับรูปแบบบริการทางวิสัญญี สามารถจัดตั้งคลินิกเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัดโดยวิสัญญีแพทย์และพยาบาล และมีหอผู้ป่วยรองรับการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ สามารถผ่าตัดแบบวันเดียวกลับเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ละ 2 รายเป็นสัปดาห์ละ 5 - 7 ราย ภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีลดลงเหลือร้อยละ 6.06 เพิ่มระบบติดตามผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังจำหน่ายกลับบ้าน และความพึงพอใจในการรับบริการทางวิสัญญี อยู่ในระดับดีมาก

References

สำนักวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาระบบบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ, กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมป์.

ธิดา ยุคันตวรานันท์. (2558). พัฒนาระบบการบริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ ในเขตสุขภาพที่ 10. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,กระทรวงสาธารณสุข, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชญานิศ ธัมธนพัฒน์. (2564). การพัฒนาระบบการผ่าตัดและการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ (One Day Surgery : ODS) โรงพยาบาลสิรินธร จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 6(1), 57-63.

เบญจวรรณ มนูญญา และสกาวเดือน ขำเจริญ (2564) การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับอย่างครบวงจร. วารสารวิจัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ และ คุณภาพ ชีวิต, 1(1), 13-24.

นัยนา ผาณิบุศย์, วัลลภา ช่างเจรจา และสุนันท์ นกทอง. (2561). ผลการพัฒนาระบบการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ โรงพยาบาลบึงกาฬ.วารสารการพยาบาลสุขภาพจิต และการศึกษา, 2(4), 50-56.

เยาวเรศ ก้านมะลิ, ถนอมศิลป์ ก้าน มะลิ, และสะคราญ จิตรคงพันธ์. (2563). การพัฒนารูปแบบ บริการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 17(2), 183-195.

วิลาวรรณ อัศวสุดสาคร. (2564). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการ ระงับ ความรู้สึกในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโรงพยาบาลบุรีรัมย์. Journal of The Department of Medical Services, 46(3), 118-125.

อวยพร จงสกุล. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดแบบ วันเดียวกลับแบบครบวงจรของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา. วารสารแพทย์เขต

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

วงศ์รัตนจิรากุล ฐ. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดบริการพยาบาลผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึก ในการผ่าตัดแบบวันเดียวกลับโรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 11–20. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/2814