การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ผู้ดูแลเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรม TEDA4I ในเด็กอายุ 18-60 เดือน ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าทางภาษา ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การให้ความรู้ , ผู้ดูแลเด็ก, โปรแกรม TEDA4I , เด็กอายุ 18-60 เดือน , พัฒนาการสงสัยล่าช้าทางภาษาบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการให้ความรู้ผู้ดูแลเด็กร่วมกับการใช้โปรแกรม TEDA4I ในเด็กอายุ 18-60 เดือน ที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าทางภาษา ตำบลพรรณา อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร เครื่องมือที่ใช้การวิจัย ได้แก่ แนวคำถามการสนทนากลุ่ม (Focus group) เป็นคำถามปลายเปิด แนวคำถามประกอบด้วย แนวทางการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรคในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ระบบการส่งต่อ การบันทึกข้อมูล แบบประเมินความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา และแบบบันทึกพฤติกรรมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กที่สงสัยพัฒนาการล่าช้าด้านภาษาเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (TEDA4I) ในเด็กอายุ 18-60 เดือน
ผลจากการวิเคราะห์การวิจัย พบว่าผู้ที่ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากที่สุด ช่วงอายุ 31-40 ปี และช่วงอายุ 51-60 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 10,000 บาท ความสัมพันธ์กับเด็ก พบว่า ส่วนใหญ่เป็นครูพี่เลี้ยง รองลงมาคือเป็นพ่อแม่ ไม่มีประวัติบุคคลในครอบครัวมีความบกพร่องด้านพัฒนาการ และไม่มีความกังวลใจต่อการดูแลบุตรหลาน เด็กที่สงสัยมีพัฒนาการล่าช้าทางภาษาเป็นเพศชายทั้งหมด อยู่ในช่วงอายุ 15-18 เดือน มากที่สุดร้อยละ 50 น้ำหนักแรกเกิด น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ(น้ำหนักมากกว่าหรือเท่ากับ 2,500 กรัม) มากที่สุดร้อยละ 66.7 และมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ร้อยละ 33.3 หลังจากกระตุ้นพัฒนาการครบ 4 สัปดาห์ พฤติกรรมด้านการเข้าใจภาษาและการใช้ภาษายังไม่ผ่านเกณฑ์ประเมินร้อยละ 100 ทำการกระตุ้นพัฒนาการต่อเนื่องครบ 8,12 สัปดาห์ พฤติกรรมด้านการเข้าใจภาษาผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 100 ส่วนพฤติกรรมด้านการใช้ภาษา ผ่านเกณฑ์ประมิน ร้อยละ 66.67 ไม่ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 33.33
References
กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกูล. (2562). ผลการใช้โปรแกรม TEDA4I ในเด็กบกพร่องทางพัฒนาการสติปัญญา สถาบันราชานุกูล. กรุงเทพฯ: สถาบันรา ชานุกูล กรมสุขภาพจิต.
รัตโนทัย พลับรู้การ และคณะ. (2552). วิเคราะห์สุขภาวะเด็กและวัยรุ่นอายุ2-5 ปี.กรุงเทพมหานคร: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์.
อดิศร์สุดา เฟื่องฟู, สุรีย์ลักษณ์ สุจริตพงศ์, รวิวรรณ รุ่งไพรวัลย์, ทิพวรรณ หรรษคุณาชัย, บานชื่น เบญจสุวรรณเทพ, ดิศร์สุดา เฟื่องฟู และจริยา จุฑาภิสิทธิ์(2561).การเฝ้าระวังติดตามและคัดกรองพัฒนาการเด็ก(บก.,พัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก.กรุงเทพฯ:พี.เอ.ลิฟวิ่ง.
World Health Organization. (2020). Improving early childhood development: Who guideline.Retrieved from https://www.who.int/publications//item/97892400020986
สุริยา ฆ้องเสนาะ. (2558). การศึกษาของเด็กปฐมวัยหัวใจสำคัญของการศึกษา. เข้าถึงได้จาก
https://library2.parliament.go.th/ebook/contentissue/2558/hi2558-082.pdf
อรพรรณ บัวอิ่ม.(2560).การศึกษาปฐมวัยและพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนในประเทศกำลังพัฒนา:หลักฐานเชิงประจักษ์จากประเทศไทย. พัฒนาการเศรษฐกิจปริทรรศน์.1(11), 73-107.
สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2560). คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแล และพัฒนาเด็ก: ตอนวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย.
นพวรรณ ศรีวงค์พานิช.(2556). การส่งเสรพัฒนาการ.กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์.
กรมสุขภาพจิต. (2558). คู่มือการประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ (Thai Early Developmental Assessment for Intervention:TEDA4I). กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข.
นิตยา คชภักดี.(2557).Windows of Opportunity หน้าต่างแห่งโอกาส:การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครื่องมือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(DSPM).สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.วันที่ 4-5กุมภาพันธ์ 2557.
นิรชา เรื่องดารกานนท์ ทิพวรรณหรรษา คุณาชัยและคณะ (บรรณาธิการ) (2554). ปัจจัยที่กระทบต่อพัฒนาการของเด็กใน ตำราพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กสำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป.กรุงเทพมหานคร : กรมพัฒนาการและพฤติกรรมเด็ก.
กรมอนามัย. (2566). รายงานการประชุมติดตามผลการดำเนินงานและสรุปผลการขับเคลื่อนงานพัฒนาการเด็กปฐมวัยประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566.เข้าถึงได้จากhttps://nich.anamai. moph.go.th/th/kpr66/download?id=109886&mid=37540&mkey=m_document&lang=th&did=32824
อัมพร เบญจพลพิทักษ์ , สมัย ศิริทองถาวร และนพวรรณ ศรีวงค์พานิช(บรรณาธิการ). (2558). คู่มือประเมินเพื่อช่วยเหลือเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาพัฒนาการ(Thai Early Developmental Assessment forIntervention : TEDA4I). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมเกษตรแห่งประเทศไทย.
เจตต์ชัญญา บุญเฉลียว, ประภาเพ็ญ สุวรรณ และสุรีย์จันทโมลี. (2564). การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาของเด็กที่สงสัยมีพัฒนาการล่าช้า โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(1): 52-69.
อรุุณศรีี กัณวเศรษฐ พวงทิพย์ ชัยพิบาลสฤษดิ์ และสุภาวดี เครือโชติกุล. (2561). ผลของโปรแกรมการมีส่วนร่วมส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษาต่อความรู้้และการรับรู้ความสามารถของผู้ดูแลเด็กวัยปฐมวัย. วชิรสารการพยาบาล.
(1): 40-53.
เอกชัย ลีลาวงศ์กิจ. (2563). ผลของการใช้เครื่องมือ TEDA4I ในเด็ก 0-5 ปี ที่มีพัฒนาการล่าช้า จังหวัดอุดรธานี.วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี. 28(1): 101-11.
สุมาลี จรุงจิตตานุสนธิ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมเด็กปฐมวัยที่มีพัฒนาการล่าช้าในจังหวัดบุรีรัมย์.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 35(2): 122-132.
ชฎาภรณ์ ชื่นตา, สุภาพร แก้วใส, สมจิต แซ่ลิ้ม และเพียงนคร คำผา. (2561). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดยโสธร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอน แก่น. 6(2):290-315.
จุฑามณี อ่อนสุวรรณ, นวศรี ชนมหาตระกูล,จุฑาทิพ ดวงมาลย์, ณัฐชยา อติชาติธานินทร์, พรไตรรัตน์ วรกุล และวีระศักดิ์ ชลไชย. (2563). แง่คิดและแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการทางภาษาของทารกและเด็กเล็กจากข้อมูลการศึกษาวิจัย. วารสารศิลปศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 20(1):184-201.