การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา: กระบวนการผลิตน้ำแข็ง ณ โรงงานน้ำแข็งสมุทรปราการ
คำสำคัญ:
คาร์บอนฟุตพริ้นท์, ก๊าซเรือนกระจก, ผลิตภัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ กรณีศึกษา กระบวนการผลิตน้ำแข็ง เพื่อประเมินค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์เทียบเท่าของกระบวนการผลิตน้ำแข็งโดยใช้หลักการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์และเสนอมาตรการการลดค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ผลการศึกษาพบว่า กระบวนกรผลิตน้ำแข็ง มีค่าการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลิตภัณฑ์น้ำแข็ง จำนวน 1 กิโลกรัม เท่ากับ 0.05015 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิต ประกอบด้วย สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการใช้ไฟฟ้า เท่ากับ 0.0495 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของการใช้น้ำประปาและน้ำบาดาล เท่ากับ 0.000466 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์ และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้สารเคมี เท่ากับ 0.000195 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหน่วยผลิตภัณฑ์
References
มิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด และกอบกุล รายะนาคร. (2553). นโยบายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ. เชียงใหม่: ล็อคอินดีไซน์เวิร์ค.
สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2560). แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจก ปี พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๓. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2559). การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกของอาเซียน. สืบค้นจาก http://www.environnet.in.th/archives/401
กระทรวงสาธารณะสุข. (2564). คู่มือสำหรับผู้ควบคุมการผลิตน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท น้ำแร่ธรรมชาติ และน้ำแข็งบริโภค. กองอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). (2565). แนวทางกระประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรโครงการส่งเสริมการจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร. ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน). 2565. ค่า Emission Factor. https://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=Y0hKdlpIVmpkSE5mWlcxcGMzTnBiMjQ9
ธนพร เงาะหวาน. (2554). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรโรงงานน้ำแข็ง ห้างหุ้นส่วน จำกัด ปั้นน้ำเพชร. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยพะเยา