การศึกษาการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในหอผู้ป่วยอายุรกรรม สถาบันบำราศนราดูร

ผู้แต่ง

  • ศิริกานต์ อัมพรอารีกุล พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หอผู้ป่วยอายุรกรรม สถาบันบำราศนราดูร

คำสำคัญ:

ความเครียด, การเผชิญความเครียด,, ผู้ป่วยติดเตียง, ผู้ดูแล

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นแบบเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในหอผู้ป่วยอายุรกรรม สถาบันบำราศนราดูร กลุ่มตัวอย่าง ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ที่มารับบริการที่ สถาบันบำราศนราดูร จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
     ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีความเครียดระดับปานกลาง ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีการเผชิญความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง การเผชิญความเครียดรายด้านพบว่า ผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงใช้การเผชิญความเครียดด้านการจัดการบรรเทาปัญหามากที่สุด ผลการวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างความเครียดกับการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) การเผชิญความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการเผชิญความเครียดโดยรวม (r=0. .535, p <0.01) การเผชิญความเครียดเป็นรายด้าน ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการเผชิญความเครียดด้านการจัดการบรรเทาปัญหา (r=0.490, p <0.01) ความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการเผชิญความเครียดการจัดการด้านอารมณ์ (r=0.834, p <0.01) และความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการเผชิญความเครียดด้านการเผชิญหน้ากับปัญหา (r=0.240, p <0.01)

References

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยปี 2560. กรุงเทพ:เดือนตุลาคม

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.สถานการณ์ผู้สูงอายุไทยพ.ศ.2563.พิมพ์ครั้งที่1. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2564.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. รายงานจำนวนผู้สูงอายุจังหวัดนครราชสีมา ปีงบประมาณ 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 1กันยายน2565]. เข้าถึงได้จาก: https://nma.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/format1.php&cat_id= 6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48&id=953a2fc648be8ce76a8115fbb955bb51

ณัชศฬา หลงผาสุก, สุปรีดา มั่นคง, ยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. ภาวะสุขภาพและการดูแลตนเองของญาติผู้ดูแลวัยสูงอายุที่ดูแลผู้สูงอายุที่ติดเตียง. วารสารสภาการพยาบาล2561;33(2):97-109.

ศิรินทิพย์ นิมิตรภูวดล, พรชัย จูลเมตต์, และ นัยนา พิพัฒน์ วณิชชา.ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาระของผู้ดูแลผู้ชายที่ดูแลผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองจังหวัดสมุทรสาคร. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา2565;30(4), 1-12.

ชนิกานต์ ส่วยนุ, ภูมิ ชมพูศรี, และจิตรลดา อุทัยพิบูลย์.การศึกษาปัญหาสุขภาพทางด้านร่างกายและทางจิตใจ และความต้องการให้ช่วยเหลือของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงในตำบลเวียง อำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์ สุขภาพ2562;2(2)62-69

ทรงสุดา ยงพัฒนจิตร, สุปรีดา มั่นคง, นุชนาฏ สุทธิ. ความเครียดและการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการเผชิญความเครียดของญาติผู้ดูแลในหอผู้ป่วยที่มีการดูแลแบบประคับประคอง. วารสารการพยาบาล 2563;36(3)151-164

ภาวิณี พรหมบุตร นพวรรณ เปียชื่อ สมนึก สกุลหงส์โสภณ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในญาติผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง, รามาธิบดีพยาบาลสาร2557);20(1)82-96

ปัญญากาญจน์ ภิรมย์กิจ และคณะ.ความสัมพันธ์ระหว่างภาระในการดูแล พฤติกรรมการเผชิญปัญหาภาวะสุขภาพและภาวะซึมเศร้าของผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต2566;37(2)61-79

กัญนิกา อยู่สำราญ, ศรีสกุล ชนะพันธ์, พานิช แก่นกาญจน์.ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9,2565;16(1)

กีรติญา ไทยอู่. ความเครียดและการเผชิญความเครียดของผู้ดูแลผู้สูงอายุโรคจิต. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2557;5(2):2-13.

กรมสุขภาพจิต.แบบประเมินความเครียด กรมสุขภาพจิต(SPST-20).[อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 1กันยายน2565].เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh- elibrary.org/items/show/141

Jalowiec A. Confirmatory factor analysis of the Jalowiec coping scale. In Waltz CF, Strickland OL, eds. Measurement of nursing outcome: Volume one: measurement of client outcome. New York: Springer Publish Company. 1988: 236-308.

Lazarus RS, Folkman S. Stress, Appraisal, and Coping. 15th ed. New York: Springer; 2011.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31