รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ผู้แต่ง

  • จรรยาพร ผลยังส่ง ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • แดนวิชัย สายรักษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การพัฒนาประสิทธิภาพ, การให้บริการชำระหนี้, สหกรณ์ออมทรัพย์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยดังนี้ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  3) เพื่อทดลองและประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงทดลอง วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น  3 ระยะ
     ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขภาคตะวันเฉียงเหนือ พบว่า ผลจากตัวแปรที่พยากรณ์ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ (Y) ทั้ง 5 ปัจจัย ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ บุคลากร การทำงานเป็นทีม การรับรู้บทบาท การสร้างแรงจูงใจ มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ โดยสามารถอธิบายการผันแปรในตัวแปรตามได้ร้อยละ 93 (R2= .93) 2) ผลการสร้างรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขภาคตะวันเฉียงเหนือ โดยการนำผลการวิจัยในระยะที่ 1 มายกร่างรูปแบบเบื้องต้น และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ในการวิจัยระยะที่ 2 ได้หลักสูตรการฝึกอบรม  เป็นลักษณะกิจกรรมในการพัฒนาเป็นไปตามสมมติฐาน  ได้รูปแบบจากปัจจัยเชิงสาเหตุมาพัฒนาทั้ง 5 ปัจจัย ได้แก่  ปัจจัยด้านภาวะผู้นำ บุคลากร การทำงานเป็นทีม การรับรู้บทบาท การสร้างแรงจูงใจ ได้หลักสูตรการอบรม จำนวน 10 หลักสูตร และได้กิจกรรมการพัฒนาโดยการทดลอง จำนวน 10 กิจกรรม ประกอบด้วย  1) การพัฒนาศักยภาพภาวะผู้นำ  2) การพัฒนาภาวะผู้นำของสมาชิก 3) การแก้ไขปัญหาหนี้  4) พฤติกรรมบริการสู่ความเป็นเลิศ 5) ทีมบิวดิ้ง 6) ทีมเวิร์คทูซับบ์เซ็ตส์ 7) การสร้างแรงจูงใจในความต้องการ  8) มายเซ็ตส์ ทูชับบ์เซ็ตส์  9) การสร้างกระบวนการรับรู้บทบาท  และ 10) การพัฒนาพฤติกรรมการรับรู้บทบาท นำผลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ แล้วนำไปทดลองใช้ในระยะที่ 3 3) ผลหลังการทดลองใช้และการประเมินรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขภาคตะวันเฉียงเหนือดีขึ้น การวิจัยระยะที่ 3 ผลจากการใช้รูปแบบ โดยประเมินจากปัจจัยด้านภาวะผู้นำ  บุคลากร  การทำงานเป็นทีม  การรับรู้บทบาท แรงจูงใจ และด้านการมีส่วนร่วม ด้านการเป็นสมาชิกที่ดี และด้านความพึงพอใจ  ในกลุ่มทดลอง พบว่า  ค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการให้บริการ ก่อนและหลังการใช้รูปแบบการพัฒนา  ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยค่าเฉลี่ยของประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในกลุ่มทดลองหลังการทดลองดีกว่าก่อนการทดลอง  จึงสรุปได้ว่าหลังการใช้รูปแบบการพัฒนาที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้ประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขดีขึ้นกว่าก่อนการทดลอง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้  

References

กรมส่งเสริมสหกรณ์, (2554). “สหกรณ์ออมทรัพย์.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มาhttp://www.cpd.go.th (17 มิถุนายน 2554).

สำนักส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์.(2559). ส่งเสริมให้สมาชิกมีคุณภาพชีวิตที่ดีด้วยวิธีการสหกรณ์. กรมส่งเสริมสหกรณ์.

มะณู บุญศรีมณีชัย. (2559) รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุขไทย. วารสารสำนักป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น ปีที่ 23 ฉบับที่ 3 (กันยายน-ธันวาคม). หน้า 12 -22

ธนิดา ตันติอาภากุลใ (2560) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้สินเชื่ออุปโภคของธนาคารพาณิชย์ และบริษัทที่ประกอบธุรกิจ แต่มิใช่สถาบันการเงินในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตร์ มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิชญ์พล คุ้มกัน และกุลบุตร โกเมนกุล. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการผิดนัดชำระหนี้กรณีศึกษาในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสุรนารีสายสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์, 13(1), 105-125.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2560). ภาวะผู้นำทางการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลาวัณย์ เพิ่มสุขรุ่งเรือง. (2559). การบริหารงานบุคคลที่ส่งผลต่อสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 2.

บุญช่วย ภูทองเงิน. (2560). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะผู้นำท้องถิ่นในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร. สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

อัศวิน กองถวิล. (2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารงานบุคคลของการประปาส่วนภูมิภาคสำนักงานใหญ่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

ฉลอง นาคเสน. (2556). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. มหาสารคาม.

อิงครัต จันทร์วงศ (2565). ปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการกรมศุลกากร จังหวัดสงขลา. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

พูขัน เปียพอนมะนีวง. (2562). รูปแบบการพัฒนาการมีส่วนร่วมของประชาชนหมู่บ้านหลัก 35 บ้านอีตู้ เมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. มหาสารคาม : วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. ปีที่ 13 ฉบับที่ 3 เดือน กันยายน - ธันวาคม 2562.

เพ็ญพิชญา ติชะรา. (2560). การศึกษาปัจจัยพหุระดับที่มีอิทธิพลต่อแรงจูงใจในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สิริรัตน์ ประสารพันธ์. (2560). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลตำบลในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. สำนักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

ผลยังส่ง จ., & สายรักษา แ. (2024). รูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการชำระหนี้ของสหกรณ์ออมทรัพย์สาธารณสุข ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(3), 548–560. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3009