การศึกษาคุณภาพน้ำทิ้งจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • จิราพร ขำจันทร์ นักวิทยาศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • จาตุรนต์ กัณทะธง นักวิทยาศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • ภาณุวัฒน์ ทวีกุล นักวิชาการศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • เสกสรรค์ ทองติ๊บ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • อรัณย์ภัค พิทักษ์พงษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

คุณภาพน้ำทิ้ง, คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, คุณลักษณะทางกายภาพ, คุณลักษณะทางเคมี

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำทิ้งจากคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยดำเนินการศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพและทางเคมีของน้ำทิ้งจากอาคารคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 2 แหล่ง คือ อาคาร 1-2 และอาคาร 3-4 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงมิถุนายน 2566
     ผลการศึกษาพบว่า ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) เฉลี่ย 7.78 และ 4.62 อุณหภูมิ (Temperature) เฉลี่ย 26.20 และ 25.71 oC สภาพนำไฟฟ้า (Conductivity) เฉลี่ย 992.99 และ 842.05 uS/cm ของแข็งแขวนลอยในน้ำ (Suspended Solids :SS) เฉลี่ย 22.89 และ 6.33 mg/l ของแข็งละลายน้ำทั้งหมด (Total Dissolved Solids) เฉลี่ย 317.17 และ 676.22 mg/l ตะกอนหนัก (Settleable Solids) เฉลี่ย 0.42 และ 0.00 mg/l บีโอดี (Biochemical Oxygen Demand) เฉลี่ย 47.02 และ 13.34 mg/l ค่าออกซิเจนละลาย (Dissolved Oxygen) เฉลี่ย 0.00 และ 4.96 mg/l ค่าซีโอดี (Chemical Oxygen Demand) เฉลี่ย 133.78 และ 45.20 ตามลำดับ ซัลไฟด์ (Sulfide) เฉลี่ย 3.84 และ 3.77 mg/l น้ำมันและไขมัน (Oil and Grease) เฉลี่ย 0.93 และ 0.71 mg/l และค่าไนโตรเจนในรูปทีเคเอ็น (Total Kjeldahl Nitrogen) เฉลี่ย 78.0 และ 6.63 mg/l เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พบว่า น้ำทิ้งจากอาคาร 1-2 และอาคาร 3-4 มีบางดัชนีไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานฯ

References

จันทวัน เบ็ญจวรรณ์. ทรัพยากรน้ำ [อินเตอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 18 มิ.ย. 67]. เข้าถึงจาก http://human.tru.ac.th/elearning/Human%20Being/human-detail3_6.html

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากอาคารบางประเภทและบางขนาด [อินเตอร์เน็ต]. 2548 [สืบค้นเมื่อ 16 มิ.ย. 66]. เข้าถึงจาก https://www.pcd.go.th/laws

WHO. Fact sheet: water and sanitation. Europe, World Health Organization [Internet]. 2022 [cited 2024 Jun 28]. Available from: https://www.who.int/europe/news-room/fact-sheets/item/water-and-sanitation.

ศศิธร มั่นเจริญ จันทิมา ปิยะพงษ์ สุดารัตน์ ไชยศรีหา และเสาวนีย์ เวียงนิล . การวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักเพื่อติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระบบลุ่มน้ำบริเวณพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกสำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์; 2562.

งานสิ่งแวดล้อม กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา. ผังตำแหน่งและประเภทของระบบบำบัดน้ำเสียประจำอาคาร. 2566.

งานสิ่งแวดล้อม กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยพะเยา. รายงานปริมาณการใช้น้ำแต่ละหน่วยงาน มหาวิทยาลัยพะเยา. 2566.

สำนักจัดการคุณภาพน้ำ กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วิธีปฏิบัติสำหรับการเก็บตัวอย่างน้ำจากแหล่งกำเนิดมลพิษ. [อินเตอร์เน็ต]. 2553 [สืบค้นเมื่อ 12 ม.ค. 66]. เข้าถึงจาก https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/03/pcdnew-2021-03-23_02-13-25_056344.pdf

APHA, AWWA and WEF. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 24th edition. Washington DC: American Public Health Association; 2023.

คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2537) เรื่อง กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งในแหลางน้ำผิวดิน [อินเตอร์เน็ต]. 2537 [สืบค้นเมื่อ 23 มิ.ย. 67]. เข้าถึงจาก https://www.pcd.go.th/laws/4168

ทัศไนย ศุภนราพรรค์. การพัฒนาต้นแบบระบบบำบัดน้ำเสียด้วยเทคนิคพลาสมาใต้น้ำ [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า]. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี; 2561.

Bishwa Bandhu Timsina, Suman Man Shrestha and Mukul Upadhyaya. Physicochemical and microbial assessment of effluent from slaughter slab in Kirtipur Municipality, Kathmandu, Nepal. Nep J Environ Sci 2023; 11(1):37-45.

กรมควบคุมมลพิษ. คู่มือความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับระบบบำบัดน้ำเสียเบื้องต้น และการตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสียด้วยตนเอง [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 23 มิ.ย. 67]. เข้าถึงจาก http://cac.pcd.go.th/images/ptechResource/PublishDoc/2558-CAC treatment/CAC_manual-58.pdf

ปรีดา สีบานเย็น และสืบสกุล คุรุรัตน์. การอัดอากาศเพื่อลดซัลไฟด์ในน้ำเสีย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ประจำปีการศึกษา 2560 2560; 301-307.

Ogbonna, D.N., and Ideriah, T.J. (2014). Effect of abattoir wastewater on physicochemical characteristics of soil and sediment in Southern Nigeria. Journal of Scientific Research and Reports 2014; 3(12): 1612-1632.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31