การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากชุมชน แผนกผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบการดูแล, โรคปอดอักเสบชุมชน, รงพยาบาลชุมชน, สัญญาณเตือน (MEWS Scores)บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (action research) เพื่อพัฒนาและประเมินผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากชุมชนแผนกผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 – มิถุนายน พ.ศ. 2567 มีขั้นตอนการศึกษา 3 กระบวนการ ดังนี้ (1) กระบวนการพัฒนา (2) กระบวนการนำรูปแบบไปใช้ และ (3) กระบวนการการประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากชุมชน จำนวน 30 ราย และพยาบาลผู้ปฏิบัติงานในแผนกผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลเขาวง จำนวน 13 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ รูปแบบการเฝ้าระวังสัญญาณเตือนเข้าสู่ภาวะวิกฤติในผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากชุมชน แบบบันทึกสัญญาณเตือน (MEWS Scores) แบบรายงานแพทย์ SBAR แบบสอบถามความเป็นไปได้และความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคปอดอักเสบจากชุมชนหลังจากใช้รูปแบบฯ มีอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อในกระแสโลหิต มีภาวะอวัยวะล้มเหลวลดลง และไม่พบการเสียชีวิต ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มควบคุมก่อนการใช้รูปแบบฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พยาบาลวิชาชีพมีความคิดเห็นต่อความเป็นไปได้ (M= 3.79, SD= .33) และความพึงพอใจในการใช้แนวปฏิบัติฯ (M= 3.73, SD= .38) อยู่ในระดับมาก
References
ดาวเรือง บุญจันทร์. (2556). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลเพชรบูรณ์ (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
มัณฑนา จิระกังวาล,ชลิดา จันเทพา, และเพ็ญนภา บุปผา.(2558).การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง(Severe sepsis)ในโรงพยาบาลศีรษะเกษ. วารสารกองการพยาบาล, 42(3), 9-33
รัฐภูมิ ชามพูนท, สมบูรณ์ ตันสุภสวัสดิกุล, นาตยา คำสว่าง, ปัญญา เถื่อนด้วง, ดวงรัตน์ ทิมศรี. การประยุกต์แบบวินิจฉัย Search Out Severity (SOS) Score ในการบ่งชี้ผู้ป่วยที่มีอาการทรุดลงในตึกผู้ป่วยสามัญ. พุทธชินราชเวชสาร 2559; 33(3): 313-25.
รุจา ปิ่นน้อย, พรนภา บุญชูเชิด, นภารัตน์ บัวลาดและจินตนา ทองเพชร. (2564).การพัฒนาระบบการประเมินเพื่อเฝ้าระวังอาการทรุดลงด้วยแบบบันทึกสัญญาณเตือน พระจอมเกล้ามิวสกอร์ ในผู้ป่วยโรคเลือดออกในสมอง.วารสารวิจัยการพยาบาลและการสาธารณสุข, 1(3), 72-88.
ศิรดา ทวีวัน. (2561). ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลการใช้แบบบันทึกสัญญาณเตือนในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลบึงกาฬ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 26(3), 153 -163.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2564). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 5 Hospital and healthcare standards5thedition. กรุงเทพฯ: ก.การพิมพ์เทียนกวง จํากัด
Baines, E.& Kanagasundaram, N.S. (2008). Early Warning Scores. British Medical Journal,16(7), 294-336.
Chuaychang, S. (2018). Effects of using the assessment of the modified early warning signs (SEARCH OUT SEVERITY SCORE (SOS SCORE) ) in the assessment and monitoring change symptom of patients in cardiac catheterization lab, Trang hospital. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursin,29(1), 72-83.
Gardner- Thorpe, J., etal. (2006). The Value of Modified Early Warning score ( SEARCH OUT SEVERITY SCORE (SOS SCORE) ) in surgical In-patients: A prospective observational study. Annals of the Royal College of Surgeons of England, 88, 571-575.
Mehtap B, etal. (2013). The comparison of modified early warning score with rapidEmergency medicine score: a prospective multicenter observational cohort studyon medical and surgical patients presenting to emergency department. Emergency Medicine Journal, 31(6), 476-481.
National Health and Medical Research Council. A guideline to the developmental, implementation and evaluation f clinical practice guidelines [Internet]. 1999 [Cited 2023 Aug 9. Available from:http://www.nhmrc.gov.au/_files_nhmrc/file/publications/synopses/cp30.pdf.
Putsa, B., Prommasaka Na Sakonnakhon, N., & Kaewkerd, O. (2022). Development of a Care Model for Severe Pneumonia in Adults by the FASTHUG and SAR Assessment in the Respiratory Intensive Care Unit, Sakon Nakhon Hospital. Journal of Sakon Nakhon Hospital, 25(3), 85-98. (in Thai)
Seanpook, W., Srisong, S., & Sansuriwong, P. (2020). The Development of the care model for children with pneumonia. Journal of Nursing Division, 47(1), 153-172. (in Thai)
World Health Organization. (2020). Cardiovascular Diseases. Retrieved January 19, 2023 fromhttp://www.who.int/topics/ cardiovascular diseases/en/.