การพัฒนารูปแบบระบบการบริการแบบดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน (Home Ward) โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพในชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์

ผู้แต่ง

  • ถมญาณี โชติการณ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • ธีรศักดิ์ ภูจอมแจ้ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์
  • วิภาวี เหล่าจตุรพิศ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ระบบการบริการแบบดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทสถานการณ์การดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยที่บ้าน (Home Ward) จังหวัดกาฬสินธุ์และศึกษาการพัฒนารูปแบบระบบการบริการแบบดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน (Home Ward) โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายบริการสุขภาพในชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์ มีระยะเวลาในการศึกษา ระหว่าง เดือน มิถุนายน 2565 ถึง เดือน สิงหาคม 2567 รวม 26 เดือน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรของโรงพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้เข้ารับบริการรักษาในระบบการบริการแบบดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องที่บ้าน (Home Ward) ของโรงพยาบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ในช่วงระยะเวลา ตุลาคม 2566 – มีนาคม 2567 ใน 7 กลุ่มโรค เก็บรวบรวมข้อมูล โดย แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Dependent t – test F – test ด้วยเทคนิค One way ANOVA และเปรียบเทียบรายคู่โดย เทคนิคของ Scheffe
     ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังการดำเนินงาน มี หน่วยบริการขึ้นทะเบียนและผ่านการประเมินการให้บริการการดูแลแบบผู้ป่วยในที่บ้าน Home ward ความพร้อมในการประเมินระบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ตามแนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ก่อนและหลังการดำเนินการ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่ ความพร้อมในการประเมินระบบการจัดบริการการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) ตามแนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ของบุคลากรที่เกี่ยวข้อง หลังการดำเนินงาน ดีกว่าก่อนการดำเนินงาน

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.(2565).แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) แนวทางและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยในที่บ้าน (Home ward) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.กรกฎาคม 2565.กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นวันที่ 18 กันยายน 2566.https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Publication/Attach/25650805113031AM_homeward.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์.(2565).รายงานข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดในสมองจากฐานข้อมูลบริการ HDC จังหวัดกาฬสินธุ์ 2562 - 2564 2565(ตุลาคม 2564 - มิถุนายน 2565).จังหวัดกาฬสินธุ์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์. (2565). เอกสารตรวจราชการ Service Plan สาขา Intermediate Care. จังหวัดกาฬสินธุ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

สมสมัย รัตนกรีฑากุล, สุรีย์รัตน์ ธนากิจ, นิสากร กรุงไกรเพชร, อริสรา ฤทธิ์งาม.(2561). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน: กรณีศึกษานวัตกรรมการพยาบาล เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลคลองใหญ่ จังหวัดตราด. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 26(1). 79-90

วิราวรรณ์ เพ็ชรนาวาและทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา. (2564). “แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสหวิทยาเขตวิภาวดี กรุงเทพมหานคร,” วารสารมจร การพัฒนาสังคม. 6(2), 93-107

สุปราณี บุญมี ชัยวุฒิ บัวเนี่ยว สุพิตรา เศลวัตนะกุล.(2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโนนเปือย อำเภอสนม จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน. 5(4). 38-49

เพียงพิมพ์ ปัณระสี ภัทราบูลย์ นาคสู่สุข.(2565). การพัฒนารูปแบบการดูแลประคับประคองต่อเนื่องที่บ้านในเครือข่ายบริการปฐมภูมิ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข. 32(1). 40-55

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31