การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ บาดเจ็บทรวงอก และกระดูกหักหลายตำแหน่ง : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
บาดเจ็บหลายระบบ, บาดเจ็บที่ศีรษะ, บาดเจ็บทรวงอก, กระดูกหักหลายตำแหน่งบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัญหา และการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบที่ได้รับการบาดเจ็บที่ศีรษะ บาดเจ็บทรวงอก และกระดูกหักหลายตำแหน่ง โดยศึกษาในผู้ป่วยชาย อายุ 27 ปี ประสบอุบัติเหตุขับรถจักรยานยนต์ชนท้ายรถบรรทุก 10 ล้อ จากการศึกษาพบว่า ปัญหาสำคัญในระยะการตรวจและบำบัดรักษาทางการพยาบาลบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ได้แก่ ผู้ป่วยเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจจากระดับความรู้สึกตัวลดลง ระดับความรู้สึกตัวลดลงจากการบาดเจ็บที่ศีรษะและสมอง สูญเสียเลือดจากแผลฉีกขาดที่ศีรษะและคาง ได้รับการพยาบาลโดยการเปิดทางเดินหายใจและให้ออกซิเจนบำบัด ห้ามเลือดด้วยการกดจุดเลือดออกโดยตรง ระยะการตรวจและบำบัดรักษาทางการพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ได้แก่ ระดับความรู้สึกตัวลดลงจากมีเลือดออกในสมอง มีลมในช่องเยื่อหุ้มปอดข้างขวา กระดูกใบหน้าและกระดูกไหปลาร้าหัก ซึ่งได้รับการพยาบาลโดยการป้องกันภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ช่วยแพทย์ใส่ท่อช่วยหายใจและให้ออกซิเจนบำบัด การปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมประสาท การเตรียมความพร้อมและส่งผู้ป่วยผ่าตัดเพื่อนำก้อนเลือดในสมองออก การช่วยแพทย์ใส่ท่อระบายทรวงอกและดูแลให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ การป้องกันและเฝ้าระวังการอุดกั้นทางเดินหายใจจากกระดูกใบหน้าหัก และการดูแลใส่ผ้าคล้องแขนเพื่อกระดูกไหปลาร้าให้เคลื่อนไหวน้อยที่สุด หลังจากได้รับการรักษาพยาบาล ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวและอาการทางระบบประสาทดีขึ้น ไม่เกิดภาวะความดันในกะโหลกศีรษะสูง ไม่เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนจากกระดูกไหปลาร้าหัก ได้รับการผ่าตัดตามแผนการรักษาและปลอดภัยจากการผ่าตัด
References
สุพัตรา อยู่สุข และคณะ. พัฒนารูปแบบการดูแลภาวะช็อกจากการเสียเลือดในผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารการแพทย์ 2560; 42(6): 90 - 101.
NSW ITIM. Major trauma in NSW 2015. A report from the NSW trauma registry. [Internet]. 2016 [cited 2024 April 20]. Available from:https://aci.health.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0005/838598/ACI-ITIM-Annual-Report-2020-21.pdf
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2564. [อินเตอร์เน็ต]. 2564 สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1244420220310035829.pdf
National Association of Emergency Medical Technicians. Prehospital trauma life support. 8th ed. Jones & Bartlett learning 2014.
Hasler RM., Nuesch E., Juni P., Bouamra O., Exadaktylos AK., and Lecky F. Systolic blood pressure below 110 mmHg is associated with increased mortality in blunt major trauma patients: multicenter cohort study. Resuscitation 2011; 82: 1202 - 27.
ศจี พานวัน, ปิยธิดา บวรสุธาศิน. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลช่องทางด่วนผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบงานอุบัติเหตุ และฉุกเฉิน โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2565; 36(1): 32 - 49
Harjanti ETP., Nindra B., Nindra A. Internal Bleeding Management in Patient with Blunt Abdominal Trauma at Rural Hospital: A Case Report of 40-Year-Old Male with Spleen Rupture. Open Access Macedonian Journal of Medical Sciences 2023; 11(C): 92 - 95.
เสาวรส จันทมาศ, กัญจนา ปุกคำ, สุมาลี พลจรัส, และประณีต ส่งวัฒนา. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์ 2565; 42(3): 25 - 39.
ศูนย์ข้อมูลและสารสนเทศ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. รายงานผู้ป่วยรายโรคปี พ.ศ 2564, 2565, 2566 [อินทราเน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2567]. เข้าถึงจาก: http://somdetdata.moph.go.th/data_sys/re port_/
กรองจิตต์ เล็กสมบูรณ์สุข. การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะที่มีเลือดออกเหนือเยื่อหุ้มสมองชั้นนอกและบาดเจ็บกระดูกใบหน้าร่วมด้วย : กรณีศึกษา [อินเตอร์เน็ต]. 2564 สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2567]. เข้าถึงจาก:https://yrh.moph.go.th/wp-content/uploads/2021/12/km-09122021.pdf)