รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดต่อ ในระบบขนส่งทางรางระหว่างประเทศ พรมแดนประเทศไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

ผู้แต่ง

  • วรวัตต์ ชาญวิรัตน์ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • พรชรัฐ สายยุทธ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี
  • พรชนก เพ็ญศรี สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 8 จังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ระบบขนส่งทางราง, โรคติดต่อระหว่างประเทศ, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และติดตามประเมินผลการใช้รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค ในระบบขนส่งทางรางระหว่างประเทศพรมแดนไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ดำเนินการศึกษาในพื้นช่องทางเข้าออกประเทศพรมแดนสถานีรถไฟหนองคาย จังหวัดหนองคายระหว่างเดือนมกราคม - กันยายน 2566 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ คณะทำงานประจำช่องทางเข้าออกประเทศ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในช่องทาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จังหวัดหนองคาย และผู้เดินทางเข้าประเทศ กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนผู้เดินทางโดยระบบขนส่งทางรางที่ผ่านช่องทางพรมแดนสถานีรถไฟหนองคาย ระหว่างเดือนกรกฎาคม - กันยายน 2566 จำนวน 315 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเชิงโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสม และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคฯ ที่เหมาะสม ประกอบด้วยประเด็นความร่วมมือในการดำเนินงาน ประเด็นการเฝ้าระวังโรค การป้องกันโรค และการควบคุมโรค รวมถึงประเด็นการประเมินผล 2) การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคฯ พบว่าในภาพรวมมีคะแนนเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความเหมาะสมด้านความเหมาะสมต่อการดำเนินงาน ด้านความยั่งยืน ด้านการใช้งานได้จริง ด้านการยอมรับจากผู้ใช้งาน และด้านความยืดหยุ่นในการใช้งาน ทุกด้านอยู่ในระดับสูง 3) การประเมินความพึงพอใจต่อการรับบริการรูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค พบว่าในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าความพึงพอใจด้านกระบวนการ และขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่บุคลากรผู้ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านความพึงพอใจคุณภาพการบริการภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก

References

กรมการขนส่งทางราง. (2565). รายงานประจำปี 2565. กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม.

กระทรวงสาธารณสุข. (2551). แผนพัฒนางานด้านกฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 (2005) ในช่วงปี พ.ศ. 2551-2555. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมควบคุมโรค. (2561). กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ.2548 (2005). พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนปฏิบัติการสาธารณสุขชายแดน พ.ศ.2565 – 2570. กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข. (2551). แผนพัฒนางานด้านกฎอนามัยระหว่าง ประเทศ พ.ศ. 2548 (2005) ใน ช่วงปีพ.ศ. 2551 – 2555. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

พีระพงษ์ นิรมิตมหาปัญญา และรัชสมัย หมั่นเพียรเลิศ. (2565). การประเมินผลการดำเนินงานอำเภอควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืนสู่การปฏิบัติในพื้นที่ อำเภอเมืองอ่างทอง จังหวัดอ่างทอง. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ. 4(1), 29-40.

Bloom,Benjamin S.,et al. (1971). Hand book on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: Mc Graw-Hill Book Company.

กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (2565). เอกสารเผยแพร่แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้รับบริการหน่วยงานส่วนกลาง. กระทรวงสาธารณสุข.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2564). เอกสารประกอบการนำเสนอ แผนปฏิบัติการสาธารณสุขชายแดน พ.ศ.2565 – 2570.

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558. (2558, 8 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 132 (ตอนที่ 68ก).

วรรณรา ชื่นวัฒนา และคณะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการระบบสาธารณสุขชายแดนประเทศไทย บริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษตาก เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 10(1), 237 – 245.

เสาวณีย์ เปลี่ยนพานิช และคณะ. (2562). ผลของการพัฒนาระบบเฝ้าระวังควบคุมป้องกันโรคติดต่อ และโรคอุบัติใหม่ตามแนวชายแดนประเทศไทย เมียนมา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จังหวัดเชียงราย ปี 2560 – 2561. วารสารควบคุมโรค. 45(1), 85 – 96.

กรมควบคุมโรค. (2561). คู่มือการประเมินตนเอง การพัฒนาสมรรถนะหลักช่องทางเข้าออกประเทศท่าอากาศยาน ท่าเรือ และพรมแดนทางบก. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สันติ ฝักทอง. (2567). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค และภัยสุขภาพตามแนวชายแดนไทย และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เขตพื้นที่อำเภอโพธิ์ไทร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและนวัตกรรมสุขภาพ กลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งประเทศไทย. 3(4), 47 – 64.

สวรรยา จันทูตานนท์ และชูพงศ์ แสงสว่าง. (2566). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS Co-V) ในกลุ่มผู้แสวงบุญพิธีฮัจย์พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 10(3), 1 – 14.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-31