สถานการณ์และความต้องการการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยชุมชน: กรณีศึกษาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
การดูแลแบบประคับประคอง, การมีส่วนร่วมของชุมชน, การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วม ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มด้วยแบบสัมภาษณ์และคำถามการสนทนากลุ่ม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงนี้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 18 คน ได้รับการคัดเลือกเฉพาะเจาะจง ประกอบด้วยผู้ให้บริการ 6 คน เครือข่ายชุมชน 8 คน และกลุ่มผู้รับบริการ 4 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบประเด็นสำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ 1) สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองในชุมชน พบข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการ การจัดการอาการ และการสนับสนุนทรัพยากร 2) การมีส่วนร่วมในการดูแล พบความสำคัญของบทบาทผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แต่ยังมีข้อจำกัดในการประสานงานและการสื่อสาร 3) ความรู้และทักษะในการดูแล พบว่าทั้งบุคลากรและผู้ดูแลยังต้องการการพัฒนา 4) นโยบายและแนวทางการดูแล พบว่ายังขาดความชัดเจนทั้งในระดับท้องถิ่นและชุมชน และ 5) ความท้าทายและโอกาสในการพัฒนา พบทั้งอุปสรรคด้านบุคลากรและทรัพยากร และโอกาสในการสร้างเครือข่ายการดูแลในชุมชน
References
World Health Organization. WHO Definition of Palliative Care [Internet]. 2002 [cited 2024 Aug 23]. Available from: http://www.who.int/cancer/palliative/definition/en
วณิชา พึ่งชมภู. การพยาบาลผู้สูงอายุ: การสร้างเสริมสุขภาพและการฟื้นฟูสุขภาพ เล่ม 1. เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2557.
เบญจวรรณ งามวงศ์วิวัฒน์, ชนานันท์ โพธิ์ขวาง, วิริยา โพธิ์ขวาง-ยุสท์, พนิดา อาวุธ. การพยาบาลเด็กป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง: มุมมองในประเด็นสำคัญ. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา 2560; 18(3): 1-13.
พรทวี ยอดมงคล. คู่มือสำหรับประชาชนการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายแบบประดับประคอง (Palliative Care) ฉบับปรับปรุง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.); 2561.
บรรเทิง พลสวัสดิ์, สำราญ พูลทอง, กิติยาพร จันทร์ชม, จรูญศรี มีหนองหว้า, ฉัตรวิไล วิบูลย์วิภา. การพัฒนาระบบเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบไร้รอยต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการกระทรวงสาธารณสุข 2560; 26(5): 905-913.
ฐิติพร จตุพรพิพัฒน์, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, พิเชฐ บัญญัติ. รูปแบบการจัดการดูแลแบบประคับประคองสำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม โรงพยาบาลวังเจ้า จังหวัดตาก. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.) 2560; 23(1): 154-176.
เลิศลักษณ์ ลีลาเรืองแสง. การพัฒนาโรงพยาบาลต้นแบบการดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยแบบประคับประคองกรุงเทพมหานคร. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ 2564; 17(1): 15-29.
Chung H, Harding R, Guo P. Palliative Care in the Greater China Region: A Systematic Review of Needs, Models, and Outcomes. J Pain Symptom Manage 2021; 61(3): 585-612.
Erlingsson C, Brysiewicz P. A hands-on guide to doing content analysis. Afr J Emerg Med 2017; 7(3): 93-99.
รัตนาภรณ์ รักชาติ, สุภาภรณ์ อุดมลักษณ์, กัญญา ศรีอรุณ, ปานจิตร์วงศใหญ่, ภัทรนัย ไชยพรม. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคองระยะท้ายโดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายชุมชนต้นแบบหมู่บ้านปลอดมะเร็งจังหวัดลำปาง. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท 2565; 4(2): 1-19.
Johnson MJ, Rutterford L, Sunny A, Pask S, de Wolf-Linder S, Murtagh FEM, et al. Benefits of specialist palliative care by identifying active ingredients of service composition, structure, and delivery model: A systematic review with meta-analysis and meta-regression. PLoS Med 2024; 21(8): e1004436.
สารสิน กิตติโพวานนท์, รัตนาภรณ์ ประชากูล. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายโดยการจัดการรายกรณี และการมีส่วนร่วมของสหสาขาวิชาชีพ เครือข่ายสุขภาพ อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษา การแพทย์ และสุขภาพ 2565; 7(4): 64-74.
วรนุช จันทะบูรณ์, บัวพันธ์ พรหมพักพิง. ความอยู่ดีมีสุขและระบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2565; 14(28): 151-165.
อดิศร อุดรทักษ์, นภาพร อารมณ์สวะ. ผลของโปรแกรมการพยาบาลแบบไร้รอยต่อเพื่อการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายที่บ้านแบบประคับประคอง. วารสารสิ่งแวดล้อมศึกษาการแพทย์และสุขภาพ 2567; 9(2): 200-208.
วรัญญา จิตรบรรทัด, มิ่งขวัญ เกตุกำพล. ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยระยะท้ายในชุมชน. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์ 2565; 9(12): 155-170.
สุปราณี ภูผาคุณ. รูปแบบการบริการการพยาบาลแบบประคับประคองในชุมชนกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาและสิ่งแวดล้อมศึกษา 2563; 5(1): 81-89.
de Nooijer K, Pivodic L, Van Den Noortgate N, Pype P, Evans C, Van den Block L. Timely short-term specialized palliative care service intervention for older people with frailty and their family carers in primary care: Development and modelling of the frailty+ intervention using theory of change. Palliat Med 2021; 35(10): 1961-1974. https://doi.org/10.1177/02692163211040187
นครินทร์ โสมาบุตร. การพัฒนารูปแบบบริการตามนโยบาย 3 หมอ ในการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ของผู้ป่วยประคับประคองในชุมชน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2566;17(2):532-542.
Peeler A, Afolabi O, Adcock M, Evans C, Nkhoma K, van Breevoort D, et al. Primary palliative care in low- and middle-income countries: A systematic review and thematic synthesis of the evidence for models and outcomes. Palliat Med 2024; 2692163241248324.
Zimbroff RM, Ritchie CS, Leff B, Sheehan OC. Home-Based Primary and Palliative Care in the Medicaid Program: Systematic Review of the Literature. J Am Geriatr Soc 2021; 69(1): 245-254.
Chung H, Harding R, Guo P. Palliative Care in the Greater China Region: A Systematic Review of Needs, Models, and Outcomes. J Pain Symptom Manage 2021; 61(3): 585-612.
Erlingsson C, Brysiewicz P. A hands-on guide to doing content analysis. Afr J Emerg Med 2017; 7(3): 93-99.