ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเชาว์ปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ในเขตสุขภาพที่ 10

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ ศรีธัญรัตน์ ผู้อำนวยการ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10 https://orcid.org/0000-0002-2547-1533
  • จิรังกูร ณัฐรังสี อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ทศา ชัยวรรณวรรต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • วรวุฒิ ชมภูพาน อาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • พัชรินทร์ วรรณุรักษ์ นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10
  • สกุลรัตน์ จารุสันติกุล นักจิตวิทยาคลินิกชำนาญการพิเศษ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 10
  • วรางคณา ชมภูพาน อาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • มนพัทธ์ อารัมภ์วิโรจน์ อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • พรทิพย์ ปุกหุต อาจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

ระดับเชาว์ปัญญา, นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, ความฉลาดทางอารมณ์

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับเชาว์ปัญญา (Intelligence Quotient [IQ]) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับ IQ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เขตสุขภาพที่ 10 มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนจำนวน 1,411 คน ได้มาจากการเลือกแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบ Standard Progressive Matrices, Parallel Version (SPM parallel version) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิธีถดถอยพหุลอจิสติก นำเสนอขนาดความสัมพันธ์ด้วยค่า ORadj ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
     ผลการวิจัยพบว่านักเรียนจังหวัดมุกดาหารมีค่าเฉลี่ยระดับ IQ เท่ากับ 102.9 สูงกว่าค่ากลางมาตรฐานสากล (IQ = 100) ส่วนนักเรียนในจังหวัดศรีสะเกษ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี มีค่าเฉลี่ยระดับ IQ ต่ำกว่าค่ากลางมาตรฐานสากล และพบว่าเด็กสมาธิสั้นมีโอกาสเสี่ยงที่จะมี IQ ต่ำกว่าเด็กปกติ 1.66 เท่า เด็กที่มีปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อนมีโอกาสเสี่ยงที่จะมี IQ ต่ำกว่าเด็กปกติ 1.62 เท่า เด็กที่มีความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Quotient [EQ]) ด้านสุขสูงกว่าเกณฑ์ปกติ มีโอกาสที่จะมีระดับ IQ สูงกว่าเด็กที่มี EQ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ 1.62 เท่า เด็กที่มี EQ รวมทุกด้านสูงกว่าเกณฑ์ปกติ มีโอกาสที่จะมี IQ สูงกว่าเด็กที่มี EQ ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ 2.48 เท่า และเด็กออทิสติกมีโอกาสเสี่ยงที่จะมี IQ ต่ำกว่าเด็กปกติ 2.45 เท่า สรุปได้ว่าปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับ IQ ต่ำในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ โรคสมาธิสั้น ปัญหาความสัมพันธ์กับเพื่อน และโรคออทิสติก ในขณะที่ EQ ที่สูงสัมพันธ์กับระดับ IQ ที่สูงขึ้นจึงควรส่งเสริมการพัฒนา EQ และทักษะทางสังคมควบคู่กับการพัฒนาเชาวน์ปัญญา

References

Lynn R, Becker D. The intelligence of nations. Ulster Institute for Social Research; 2019.

เพ็งสวัสดิ์ วิบูลย์ศรี, วรนาถ แสงสุริยงค์, ยุพาพร รักสกุลสุข. การศึกษาความสามารถทางสติปัญญาของเด็กและเยาวชนไทย ปี 2559. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561.

จันทร์อาภา สุขทัพภ์, อัมพร เบญจพลพิทักษ์, วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, ประเสริฐ จุฑา. ระดับสติปัญญานักเรียนไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2559. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2561;26(3).

Poon K, Ho MSH, Chou KL. Executive functions as mediators between socioeconomic status and academic performance in Chinese school-aged children. Heliyon. 2022;8(10):e11121.

Carmo ALS, Fredo FW, Bruck I, Lima JDR, Janke RNR, Fogaça TDG, et al. Neurological, cognitive and learning evaluation of students who were born preterm. Rev Paul Pediatr. 2022;40:e2020252.

Kar S, Samantaray PC, Singh S, Das BC. Knowledge and practice of mothers of school-going children regarding iodized salt and its association with the psychology testing of the students. J Family Med Prim Care. 2020;9(7):3411-3415.

Saeidinejat S, Ghaemi Belhouri N, Attarian F. Assessment of intelligence quotient score in children at the age of six with suspected congenital hypothyroidism: A retrospective cohort study. Med J Islam Repub Iran. 2020;34:117.

Denisova K, Lin Z. The importance of low IQ to early diagnosis of autism. Autism Res. 2023;16(1):122-142.

Park SY, Shin HS, Park SJ. Health Behavior, Emotional Intelligence, and Stress of Elementary School Students in Korea. Iran J Public Health. 2021;50(10):2002-2009.

ณิชวรรณ จงรักษ์ธนกิจ, มธุรดา สุวรรณโพธิ์, จันทร์อาภา สุขทัพภ์, ประเสริฐ จุฑา, รัดาวรรณ แดงสุข. ระดับสติปัญญานักเรียนไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1: การสำรวจระดับชาติ พ.ศ.2564. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2565;31(1):1-11.

Dunn K, Georgiou GK, Inoue T, Savage R, Parrila R. Home and school interventions aided at-risk students' literacy during Covid-19: a longitudinal analysis. Read Writ. 2023;36(2):449-466.

Brackett MA, Rivers SE, Salovey P. Emotional intelligence: Implications for personal, social, academic, and workplace success. Soc Personal Psychol Compass. 2011;5(1):88-103.

นพวรรณ ศรีวงค์พานิช, จันทร์อาภา สุขทัพภ์, วนิดา ชนินทยุทธวงศ์, อัมพร เบญจพลพิทักษ์. ความสัมพันธ์ระหว่างความเสี่ยงต่อโรคสมาธิสั้น ออทิซึม ภาวะบกพร่องทางการเรียนรู้และภาวะบกพร่องทางสติปัญญาจากการสังเกตพฤติกรรมโดยครูกับระดับสติปัญญา (IQ) ของเด็กไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 2562;27(3):159-170.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ศรีธัญรัตน์ ส., ณัฐรังสี จ., ทาเสนาะ เอลเทอร์ ป., ชัยวรรณวรรต ท. ., ชมภูพาน ว., วรรณุรักษ์ พ., จารุสันติกุล ส., ชมภูพาน ว., อารัมภ์วิโรจน์ ม., & ปุกหุต พ. (2024). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับเชาว์ปัญญาของนักเรียนประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 ในเขตสุขภาพที่ 10. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 1–9. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3180