การเปรียบเทียบกรณีศึกษา การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก

ผู้แต่ง

  • วรัชยา แสงสว่าง -

คำสำคัญ:

การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนด, ทารกน้ำหนักตัวน้อย,, ภาวะหายใจลำบาก

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย ที่มีภาวะหายใจลำบาก โดยใช้แนวคิดการพยาบาลเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง และเป็นแนวทางการพยาบาลทารกแรกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก ศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย
     ผลการศึกษา: กรณีศึกษาทั้งสองเป็นทารกเพศหญิงเกิดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวน้อย มารดามีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ กรณีศึกษาที่ 1 ทารก GA 30+3 wks. By U/S BW 1,505 gm. Apgar score 9, 9, 9 แรกเกิดหายใจเร็ว อกบุ๋ม และได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ เนื่องจากภาวะหายใจลำบาก ร่วมกับติดเชื้อในกระแสเลือด จากมารดามีน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอด 49 ชั่วโมง ทารกมีภาวะแทรกซ้อนน้ำตาลในเลือดต่ำ อุณหภูมิกายต่ำ ตัวเหลือง แพทย์ให้การรักษาจนอาการดีขึ้นและอนุญาติให้กลับบ้านได้ น้ำหนัก 2,010 gm. จำนวนวันนอนโรงพยาบาล 47 วัน กรณีศึกษาที่ 2 GA 35 wks. By LMP BW 1,650 gm Apgar score 8, 9, 8 เมื่อคาดคะเนน้ำหนักทารกจากอายุครรภ์ควรมีน้ำหนัก 2,400 gm และ Ballard score 17 คะแนน เท่ากับอายุครรภ์ GA 30+ สัปดาห์ แสดงถึงทารกน้ำหนักตัวน้อยไม่ได้สัดส่วนกับอายุครรภ์ (SGA) ทารกมีภาวะหายใจลำบาก หายใจเร็ว ปึกจมูกบาน อกบุ๋ม กลั้นหายใจ ปลายมือปลายเท้าเขียวคล้ำ และได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจ มีภาวะแทรกซ้อนจากปอดเรื้อรัง (BPD) น้ำตาลในเลือดต่ำ อุณหภูมิกายต่ำ เลือดข้นหนืด เกล็ดเลือดต่ำ ตัวเหลือง แพทย์รักษาจนอาการดีขึ้นและอนุญาตให้กลับบ้านได้  น้ำหนัก 2,220 gm. จำนวนวันนอนโรงพยาบาล 31 วัน พยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการดูแลทารกโดยตรง เพื่อให้ทารกปลอดภัยโดยเน้นครอบครัวเป็นศูนย์กลาง ต้องให้เกิดความร่วมมือในการดูแลสุขภาพทารกจากครอบครัว โดยการเสริมสร้างศักยภาพของครอบครัว กระตุ้นให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการดูแลทารก แสดงบทบาทในการดูแลปกป้องทารกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทารกอบอุ่น คุ้นเคยและรู้สึกมีความปลอดภัยขณะเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล

References

World Health Organization. Launch of the WHO recommendations for care of the preterm or low birth weight infant. [Internet]. 2022. [cited 2024 July 1]. Available from: https://www.who.int/news-room/events/detail/2022/11/17/default-calendar/launch-of-the-who recommendations-for-care-of-the-preterm-or-low-birth-weight-infant

กรมการแพทย์. แนวปฏิบัติการป้องกันการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดสำหรับประเทศไทย ฉบับ พ.ศ. 2566. [อินเตอร์เน็ต]. 2566. [เข้าถึงเมื่อ 2 กรกฎาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Publication/Attach/25661112141223PM_1

HDC. ร้อยละหญิงไทยคลอดก่อนกำหนดในปีงบประมาณ 2565. กลุ่มรายงานมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก. [อินเตอร์เน็ต]. 2565. [เข้าถึงเมื่อ 1 กรกฎาคม 2567]; เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformated/%20format1.php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=ecdbfc8b4725386c34623ce99f0f4b8d

งานเวชสถิติ สถาบันบำราศนราดูร. สถิติทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก. 2567.

วีณา จีระแพทย์. การดูแลระบบทางเดินหายใจในทารกที่เป็น Bronchopulmonary Dysplasia.ใน สันติ ปุณณะหิตานนท์ (บรรณาธิการ), Practical Point AND Update in Noatal Care. กรุงเทพฯ:แอคทีฟ พริ้นท์; 2562. 25 น..

Korsanan. Risk factors of low birth weight newborns in bangnamprieo hospital. Journal of Prapokklao Hospital Clinical Medicine Education Center. 2013; 48(5) 287-299.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

แสงสว่าง ว. (2024). การเปรียบเทียบกรณีศึกษา การพยาบาลทารกเกิดก่อนกำหนดน้ำหนักตัวน้อยที่มีภาวะหายใจลำบาก. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 10–19. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3337