รูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ลักษณาพรรณ แก้วมูลมุข กลุ่มงานบริหาร สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

งานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ, รูปแบบการพัฒนา

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และคณะทำงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ รายหมวด ประกอบด้วย ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ผู้แทนภาคเอกชน ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน ในอำเภอโคกโพธิ์ไชย สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามเกณฑ์ในการคัดเลือกตัวอย่าง จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบบันทึกการมีส่วนร่วม สนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบประเมินตามเกณฑ์การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ดำเนินการเก็บข้อมูล ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน สถิติอนุมาน Paired t-test เพื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมก่อนและหลังการวิจัย และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
     ผลการศึกษาพบว่า ก่อนการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ไชย การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.05 (S.D.=0.50) หลังการร่วมการดำเนิน งานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ การมีส่วนร่วมอยู่ในระดับสูง มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.90 (S.D.=0.45) ซึ่งหลังจากที่คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริการจัดการภาครัฐเข้าร่วมและมีบทบาทในการพัฒนาคุณภาพการบริการจัด การภาครัฐทำให้สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ไชย การมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลการประเมินคะแนนตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ไชย โดยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พบว่า หมวด 6 การมุ่งเน้นระบบปฏิบัติการ ก่อนการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ ได้คะแนนด้านกระบวนการทำงาน 2.4 คะแนน ด้านประสิทธิผลการ ปฏิบัติการ 2.5 คะแนน ภาพรวม 2.6 คะแนน หลังการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐ พบว่า ได้คะแนนด้าน กระบวนการทำงาน 4.5 คะแนน ประสิทธิผลการปฏิบัติการ 4.3 คะแนน ภาพรวม 4.4 คะแนน ปัจจัยแห่งความสำเร็จของการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ คือ 1) นโยบาย โดยผู้บริหาร 2) การมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน โดยผลการวิจัยในครั้งนี้ผู้บริหารสามารถนำไปการวางแผนปรับปรุงพัฒนาการบริหารจัดการภาครัฐ เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพให้การบริการประชาชนทันสมัย รวดเร็วและเข้าถึงในทุกระดับ

References

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น. (2565).แผนยุทธศาสตร์สุขภาพจังหวัดขอนแก่น ระยะ 5 ปี (2566-2670) :สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2562)เกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯวิชั่น พริ้นท์ แอนด์ มีเดีย จำกัด.

Schermerhorn, R., Hunt, G.,and Osborn, N. (2003). Organizational behavior. New York: John Wiley & Sons.

นิเทศงานและประเมินผล กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. (2566). สรุปผลการนิเทศงาน สาธารณสุข เครือข่ายบริการสุขภาพ CUP โคกโพธิ์ไชย ประจำปีงบประมาณ 2566. : CUP โคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น

Kemmis, S & Mc Taggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

สิริมาพร นาศพัฒน์และคณะ.(2564). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพบริหารจัดการภาครัฐของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.วารสาร สำนักงานควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 28(2), 85-94

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

แก้วมูลมุข ล. (2024). รูปแบบการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐของ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอโคกโพธิ์ไชย จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 109–116. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3345