การพัฒนาแนวปฏิบัติและการประเมินผลการส่งต่อผู้ป่วยกระดูกยาวหัก โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ประทุมชาติ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
  • อมรรัตน์ อัครเศรษฐสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติ, การส่งต่อผู้ป่วย , กระดูกยาวหัก

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ(Action research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติ การประเมินผลแนวปฏิบัติ และประเมินความพึงพอใจของพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยกระดูกยาวหัก โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประชากรที่ใช้ในกระบวนการพัฒนาแนวปฏิบัติ พยาบาลวิชาชีพงานผู้ป่วยนอก และงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลบ้านผือ ที่ได้รับมอบหมายหน้าที่ส่งต่อผู้ป่วย 15 คน แพทย์ผู้ส่งต่อผู้ป่วย 4 คน เจ้าหน้าที่เวชกิจฉุกเฉิน 4 คน ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม 2567 ถึง ตุลาคม 2567 เก็บข้อมูลโดยการประชุมกลุ่มย่อย และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ paired T-test
     ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 76.92 อายุเฉลี่ย 32 ปี ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ ร้อยละ 46.15 ระยะเวลาในการปฏิบัติงานอยู่ระหว่าง 1-5 ปี ร้อยละ 46.15 ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 9 ปี ผลการพัฒนาขั้นตอนการพยาบาลให้ชัดเจนขึ้น เพิ่มขนาดตัวอักษรแนวปฏิบัติ บทบาทพยาบาล ข้อวินิจฉัยการพยาบาล และกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยกระดูกยาวหัก ให้ญาติผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการรับทราบข้อมูลและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น ผลการประเมินแนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยกระดูกยาวหัก รายหมวด พบว่า หมวด 1 ขอบเขตและวัตถุประสงค์ร้อยละ 77.78 หมวด 2 การมีส่วนร่วนของผู้เกี่ยวข้องร้อยละ 69.44 หมวด 3 ขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติร้อยละ 74.60 หมวด 4 ความชัดเจนในการนำเสนอ ร้อยละ 77.78 หมวด 5 การประยุกต์ใช้ร้อยละ 81.48 และหมวด 6 ความเป็นอิสระของทีมจัดทำแนวปฏิบัติร้อยละ 77.78 ความพึงพอใจของพยาบาลหลังพัฒนามากกว่าก่อนพัฒนา(equation= 4.05 ,S.D. = 0.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 อยู่ในระดับมาก

References

สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.(2553). แนวทางการพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วย. นนทบุรี: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

แผนพัฒนาระบบส่งต่อเขตสุขภาพที่ 8.(2567). [อินเตอร์เนต]. [สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2567], เข้าถึงจาก https://r8way.moph.go.th/r8wayNewadmin/page/upload_file/20200709104351.pdf

รายงานประชุมประจำเดือนโรงพยาบาลบ้านผือ ปีงบประมาณ 2567. เอกสารประกอบการประชุม เดือนสิงหาคม 2567.

Walls MH. Compartment syndrome: an orthopedic emergency. J Emerg Nurs. 2017; 43(4): 303-7

MOEN, Ronald.(2009). Foundation and History of the PDSA Cycle. In: Asian network for quality conference. Tokyo. [Internet]. [cited 2023 Aug 20]. Availiable from: https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/S1931720424002940

ฉวีวรรณ ธงชัย.(2547). แบบประเมินคุณภาพแนวปฏิบัติทางคลินิก. คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วรรณา กรีทอง.(2558). การพัฒนาระบบการบริหารการรับ และการส่งต่อผู้ป่วยของพยาบาลวิชาชีพแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร. มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

บุญชม ศรีสะอาด.(2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

Cohen J.(1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.

ระวิวรรณ เตชทวีทรัพย์. [อินเตอร์เนต]. (2548) ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง . มหาวิทยาลัยนเรศวร/พิษณุโลก. สืบค้นเมื่อ 28 กันยายน 2567], เข้าถึงจาก DOI : https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/NU.the.2005.113

จินตนา ส่องแสงจันทร์.(2549). การวิเคราะห์ปัจจัยที่มี ผลต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาเพื่อ การรับรองคุณภาพโรงพยาบาลท่าตะเกียบ จังหวัด ฉะเชิงเทรา. [(วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ ฉะเชิงเทรา.

สุปราณี เจียรพงษ์.(2554) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนา คุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัด ปราจีนบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร มหาบัณฑิต]. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.

Pitichokphokin, J., Srisupanan, M., Chantharomori., M, & Suwan., P. (2019). Developing Critical Emergency Referral Model, Natal Hospital, Ubonratchathani Province. Journal of Nursing and Healthcare, 37(1); 88-97

Nantiya, R. & Krittaya, D. (2016). Development of Caring System for Patient with Life-Threatening in Emergency Department, Naradhiwasrajanakrindra Hospital. Journal of Naradhiwasrajanakrindra University, 8(2); 2-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ประทุมชาติ ศ., & อัครเศรษฐสกุล อ. (2024). การพัฒนาแนวปฏิบัติและการประเมินผลการส่งต่อผู้ป่วยกระดูกยาวหัก โรงพยาบาลบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 204–211. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3348