การพยาบาลและการติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีแผลกดทับที่บ้าน : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาลผู้ป่วยติดเตียง, การดูแลแผลกดทับ , การติดตามเยี่ยมบ้าน , การให้ความรู้ครอบครัวหรือผู้ดูแลบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบทักษะการดูแลผู้ป่วยติดเตียงมีแผลกดทับกับผู้ดูแลและครอบครัวรวมถึงความเข้าใจลักษณะของแผลกดทับ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ โภชนาการที่จะสามารถส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟู ไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกับผู้ป่วยติดเตียงเพิ่มมากขึ้น ศึกษาในผู้ป่วยติดเตียงมีภาวะแทรกซ้อนเกิดแผลกดทับจำนวน 2 รายที่เข้ารับการดูรักษาแบบผู้ป่วยในที่บ้าน โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกระนวน จังหวัดขอนแก่น ระหว่างวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2567 ถึง วันที่ 30 พฤษภาคม 2567
ผลการศึกษา พบว่า กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับบริการการดูแลที่เหมาะสม ปลอดภัย ได้มาตรฐานและได้รับการสนับสนับด้านเวชภัณฑ์การล้างแผล อุปกรณ์ที่นอนลมเพื่อป้องกันแผลกดทับลุกลาม และกรณีศึกษาทั้ง 2 รายผู้ดูแลและครอบครัว ชุมชนมีความพึงพอใจต่อบริการ
References
กันยารัตน์ กุคำจัด.การติดตามเยี่ยมดูแลผู้ป่วยสูงอายุติดเตียงที่มีแผลกดทับ.2563(เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค.2567)หน้าที่4.
ศิริธร สินธุ,รวมพร คงกำเนิด,นัยนา หนูนิล,กฤตพัทธ์ ฝึกฝน,นิชดา สารถวัลย์แพศย์,ปทุมทิพย์ อดุลวัฒศิริและคณะ.การปฏิรูปประเทศในสังคมผู้สูงวัย:การพัฒนาพื้นที่เชิงนิเวศเพื่อการดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและชุมชน:สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส),2564.
รัชนี ผิวผ่อง.เอกสารการสอนวิชา9552203 การประเมินภาวะสุขภาพ:การประเมินภาวะสุขภาพตาม 11แบบแผนกอร์ดอน.2565(เข้าถึงเมื่อ 1 ส.ค.2567)หน้าที่5.
ผกามาศ พีธรากร.การพยาบาลผู้ป่วยที่มีแผลกดทับโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์: ระดับและลักษณะแผลกดทับ.2564(เข้าถึงเมื่อ 2 ส.ค.2567)หน้าที่5
โรงพยาบาลสงขลานครินทร์. แนวปฏิบัติ พยาบาลในการป้องกันและดูแลแผลกดทับ.2565(เข้าถึงเมื่อ 2 ส.ค.2567จาก:https//coggle.it>diagram>ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล)