ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก

ผู้แต่ง

  • นงค์นุช คุณะโคตร พย.ม.พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

คำสำคัญ:

โรคไตเรื้อรัง, โรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4, การจัดการตนเอง, พฤติกรรมการจัดการตนเอง, ผลลัพธ์ทางคลินิก

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่เข้ารับการรักษาในคลินิกชะลอไตเสื่อม แผนกผู้ป่วยนอก จำนวน 30 คน ใช้การสุ่มอย่างง่ายเพื่อคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติของประชากรที่กำหนด เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1) แบบประเมินความรู้โรคไตเรื้อรัง และ 2) แบบประเมินการจัดการตนเอง ศึกษาในระหว่างเดือน ธันวาคม 2564 ถึง ธันวาคม 2566  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบโดยใช้สถิติเชิงอนุมานวิเคราะห์หาค่า t (t-test) ชนิด Independent t-test, Paired t-test
     ผลการวิจัย : พบว่า 1) ความรู้โรคไตเรื้อรังและ พฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มตัวอย่าง หลังการได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) 3) ผลลัพธ์ทางคลินิก พบว่า ระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (HbA1C) และระดับความดันโลหิตซิสโตลิคของกลุ่มทดลองหลังการได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิคระหว่างก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) นอกจากนั้นหลังการได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลในกระแสเลือด (HbA1C) ดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตซิสโตลิคและค่าเฉลี่ยระดับความดันโลหิตไดแอสโตลิคระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > .05) 4) ครีอีตินินและอัตราการกรองของไตหลังการได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลองดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)

References

Jitraknatee J RC, Nochaiwong S. Prevalence and risk factors of chronic kidney disease among type 2 diabetes patients: a cross-sectional study in primary care practice. Sci Rep. 2020;10(1): 6205.

สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (HSRI). รายงานการสำรวจสุขภาพประชากรไทยโดยการตรวจร่างกาย. 2561.

ทวี ศิริวงศ์. ปัญหาโรคไตเรื้อรังในประเทศไทยและการป้องกัน. ใน: ทวี ศิริวงศ์,(editor). Update on CKD prevention strategies and practical points. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น2550. p 1-7.

กระทรวงสาธารณสุข. การพัฒนานวัตกรรมการรักษาโรคไตเรื้อรังในประเทศไทย. 2020.

มณีรัตน์ จิรัปปภา.การชะลอไตเสื่อมจากวัยผู้ใหญ่ถึงวัยผู้สูงอายุ.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2557;20(2):5-16.

รัชวรรณ ตู้แก้ว. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองต่อการปฏิบัติการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินสุลิน: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2550.

นฤมล ฮาตไชย. ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีโรคไตเรื้อรังร่วมต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง.(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่คณะพยาบาลศาสตร์).ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.

กันตาภารัตน์ อ้วนศรีเมือง,จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์ และ สุพัตรา บัวที. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อความรู้ การจัดการตนเองและดัชนีชี้วัดทาง สุขภาพของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 3. วารสารสมาคมพยาบาลภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2013). 31(2).

Sa-ngrattanapiman K, Arsa K, Khiewchaum R. The Effects of a Self-Management Program in Chronic Kidney Disease Stages 3A to 4 Patients on Knowledge, Self- Management Behaviors, and Glomerular Filtration Rate, Sakaeo Crown Prince Hospital. J. Nurs. Public. Health. Res. [Internet]. 2023 Dec. 27.

Bonner A, Havas K, Douglas C, Thepha T, Bennett P, Clark R. Self-management programmes in stages 1-4 chronic kidney disease: a literature review. J Ren Care. 2014;40(3):194-204.

Methakanjanasak, N. Self – management of end stage renal disease patients Receiving hemodialysis. Docter of plilosophy in nursing, graduate school, Chiang Mai.(2005)

สุรดา โพธิ์ตาทอง. ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและตัวชี้วัดทางคลินิกของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากเบาหวาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2554)

รัตตินันท์ สิงห์ประเสริฐ,นิโรบล กนกสุนทรรัตน์ และ วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี. ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยพยาบาลผู้ปฏิบัติการขั้นสูงต่อผลลัพธ์ทางคลินิกในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนได้รับการบำบัดทดแทนไต. วารสารการปฏิบัติการพยาบาลและการผดุงครรภ์ไทย, 2561; 5 (1 ); 57-74.

บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร, & เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. จริยธรรมสำหรับการศึกษาในคน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2544)

Al Sawad Ayat Ali1, Soo Kun Lim3, Li Yoong, A. A. R. a. B.-H. Tang4 and Chew SCIENCE PROGRESS 2021; 104(2); 1-27

ศิริลักษณ์ ถุงทอง. การชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้.วารสารพยาบาลทหารบก. (2560); 18(พิเศษ), 17-24.

อัมพร จันทชาติ, มาลี มีแป้น และ เพ็ญศรี จาบประไพ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วย เบาหวานที่มีภาวะไตเรื้อรังระยะที่ 3 โดยใช้แนวคิดการจัดการตนเอง. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ ป้องกันแห่งประเทศไทย, (2560); 7(3), 280-291.

อรุณรัศมี สาที. พฤติกรรมและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมเกลือและโปรตีนของผู้ป่วยโรค ไตเรื้อรังในระยก่อนบำบัดทดแทนไต. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น(2554)

ภัทรพรรณ อุณาภาค, ขวัญชัย รัตนมณี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนทางไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังของโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2558; 10(2): 44-54.

Zorica Kauric-Klein. Improving blood pressure control in end-stage renal disease through supportive educative nursing intervention. Nephrology Nursing Journal. (2012)39(3), 217-228

รังศิมา รัตนศิลา, ขวัญใจอำนาจสัตย์ซื่อ, สิรินทรฉันศิริกาญจน, สิริประภากลั่นกลิ่น, พัชราพร เกิดมงคล. ผลของการจัดการโปรแกรมการจัดการผู้ป่วยรายกรณีผู้สูงอายุโรคเบาหวานที่ควบคุมไม่ได้. 2558.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

คุณะโคตร น. (2024). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยไตเรื้อรังระยะที่ 3 และ 4 ที่มีโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 117–128. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3350