การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีโรคร่วมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCD) โรงพยาบาลหนองคาย
คำสำคัญ:
รูปแบบการดูแลผู้ป่วย, ความสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย, ผู้ป่วยเอชไอวีที่มีโรคร่วมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีโรคร่วมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยศึกษาสถานการณ์จากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้รับบริการ 10 คนและผู้ให้บริการ 8 คน กลุ่มตัวอย่างร่วมกำหนดรูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีโรคร่วมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 8 คน และประเมินผลการใช้รูปแบบจากผู้รับบริการ 30 คน กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดทำการคัดเลือกแบบเจาะจงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) รูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีโรคร่วมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 2) แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง 3) แบบสอบถามความรู้ 4) แบบประเมินพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ 5) แบบประเมินความพึงพอใจ และ 6) แบบบันทึกข้อมูลผลลัพธ์ เก็บข้อมูลระหว่างเดือน ตุลาคม 2566 - กรกฎาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน Independent paired t-test
ผลการศึกษา: รูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีโรคร่วมกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรงพยาบาลหนองคายที่พัฒนาขึ้น มีการจัด NCD conner โดยให้บริการเป็นแบบ One stop service จัดให้มีระบบการคัดกรอง NCD คุณภาพ ในขณะที่ผู้ป่วยทุกได้รับการดูแลจากผู้จัดการรายกรณี ผู้ป่วยรับคำปรึกษาจากโภชนากร และมีการนัดให้การดูแลโดยผ่านระบบทางไกล การประเมินผลการนำรูปแบบไปใช้พบว่า ระยะเวลาการใช้บริการลดลง ระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้น ผู้ป่วยกินยาสม่ำเสมอมากขึ้น ด้านความรู้ ด้านพฤติกรรมสุขภาพ ด้านความพึงพอใจ ดีขึ้นก่อนการใช้รูปแบบทั้ง 6 ด้าน และมีแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value =.001,.016,.006,.000,.000 และ .000 ตามลำดับ คะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง โดยระยะเวลาการใช้บริการเฉลี่ย 194.76 และ 140.03 นาที ค่าน้ำตาล เฉลี่ย 168.10 และ 141.73 (Mg/dL) ด้านคะแนนความรู้เฉลี่ย 9.39 และ 14.51 ด้านพฤติกรรมสุขภาพคะแนนเฉลี่ย 60.02 และ 91.7 ความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ย 27.06 และ 41.53
References
วันทนา มณีศรีวงศ์กูล. การพยาบาลผู้ป่วยเอดส์. โครงการอบรมพยาบาลด้านการสอนญาติเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล.กรุงเทพฯ: คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.
UNAIDS Joint United Nations Programme on HIV/AIDS (2021).UNAIDS DATA 2021 [cited 2023 Sep 6]. Available from:
https://www.unaids.org/sites/default/files/media_asset/JC3032_AIDSData_book_2021_En.pdf
Institute for Health Metrics and Evaluation. (2019). Thailand's Top 10 Causes of Death in 2019 [cited 2023 Sep 10]. Available from: http://www.healthdata.org/thailand.
Smith CJ, Ryom L, Weber R, Morlat P, Pradier C, Reiss P, et al. Trends in underlying causes of death in people with HIV from 1999 to 2011 (D: A:D): a multicohort collaboration. Lancet 2014; 384: 241-48. 11. World Health Organization. A global brief on Hypertension [online]. 2013 [cited 2023 Sep12]; Available from: URL: http:// ish-world.com/downloads/pdf/global_brief_hypertension.pdf
เหมือนแพร บุญล้อม. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี ที่ได้รับยาต้านไวรัสในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดภูเก็ต.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11 2562; 33(3): 427 – 440.
พรชนัน ดุริยะประพันธ์. ลักษณะทางคลินิกและผลการรักษาของผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่อายุมากกว่า 50 ปี โรงพยาบาลหัวหิน พ.ศ. 2561–2562.วารสารแพทย์เขต 4-5 2564; 40(3): 348-359.
พาธิตา สิทธิเจริญชัย.(อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV ในประเทศไทย โดยศึกษา 5 ปีย้อนหลัง.[วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอายุรศาสตร์]. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2559.
ชุมพล เสมาขันธ์. รูปแบบการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D).วารสารวิทยาศาสตร์ 2552; 10: 97-104.
กรมควบคุมโรคติดต่อ.แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2564/2565 Thailand National Guidelines on HIV/AIDS Treatment and Prevention 2021/2022 .พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์อักษะกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
กรมควบคุมโรค. คู่มือประเมินการดำเนินงานคลินิก NCD คุณภาพ ปีงบประมาณ 2558. [อินเทอรเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก:https://ddc.moph.go.th/th/site/newsview/view/1861
นริสา วงศ์พนารักษ์. ทฤษฎีการพยาบาลของคิง: แนวคิดและการประยุกต์ใช้ในการพยาบาล. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; 31(4): 15-25.
Donabedian,A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. NewYork: Oxford University Press ; 2003.
บุญใจ ศรีสถิตนรากูร.ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2550.
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. ระเบียบวิธีการวิจัยสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: เฟื่องฟูปริ๊นติ้ง; 2546.
ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระปรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ:บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด; 2560.
สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. [อินเทอรเน็ต]. [เข้าถึงเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihypertension.org/hypertensiondetail.php?n_id=338
บงกช โมระสกุล, พรศิริ พันธสี, วาณี โพธิ์นคร และ ศุภชัย ตรีบำรุง.พฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน: กรณีศึกษา ประชาชนในชุมชนหมู่บ้านเดอะเลกาซี่การ์เด้นโฮม เทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ จ.ปทุมธานี. Journal of Public Health Nursing 2021; 35(1): 68-87.
พวงผกา สุริวรรณ.รูปแบบการเสริมสร้างพฤติกรรมสุขภาพในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ด้วยกระบวนการจัดการความรู้จังหวัดลำพูน.วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 2564;17(2): 41-50
Tiny Masupe, Yohana Mashalla, Esther Seloilwe, Harun Jibril, and Heluf Medhin.Integrated management of HIV/NCDs: knowledge, attitudes, and practices of health care workers in Gaborone, Botswana. Afr Health Sci. 2019; 19(3): 2312–2323.
ประจักร เหิกขุนทด.การพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์โรงพยาบาลส่องดาว.วารสารโรคเอดส์ 2564; 33(3): 155-162.
สัจพงษ์ โชคคติวัฒนา และ ดวงฤดี วรชุณ. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี โรงพยาบาลเจริญศิลป์.วารสารโรคเอดส์ 2563;32(1): 15-27.
โกวิทย ทองละมุล.ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยติดเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ที่มีต่อความสม่ำเสมอในการใช้ยาต้านไวรัส ในโรงพยาบาลศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ.การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12 2564: 1660-11671.
เพ็ญศรี แคนยุกต์, อัญชลีพร ดำรัศมี และ สัตตบงกช คีรีรัตน์.พัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยเท้าเบาหวาน โรงพยาบาลตรัง.วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม 2565; 6(11) : 251-23.
Hervé N. Kambale.DSD for People Living with HIV and NCDs. [online]. 2020 [cited 2023 Sep
; Available from: http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=1094.
มณีวรรณ ตั้งขจรศักดิ์,สมจิตร สกุลคู, ณฤดี ทิพย์สุทธิ์ และวันเพ็ญ วิศิษฎ์ชยนนท์.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลหนองคาย.วารสารกองการพยาบาล 2563; 47(1): 190-208
สมหวัง โรจนะ. การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองแตกจากภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2563; 31(2): 205-221.
บุษยมาส บุศยารัศมี.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานหรือความดันโลหิตสูงในยุควิถีใหม่เขตอำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม.วารสารแพทย์ เขต 4-5 2566; 42(1): 66-77.
ณิสาชล นาคกุล. การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่ม ติดบ้าน ติดเตียงในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. วารสาร สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จังหวัดขอนแก่น 2559; 23(2):79-87.
สำรวย กลยณี และศศิวรรณ ทัศนเอี่ยม. ผลของการประยุกต์ใช้หลัก 3อ. 2ส. ร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ ยงรายใหม่. Journal of Ratchaphruek 2562; 17(2): 95-104. (in Thai)