ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลมุกดาหาร

ผู้แต่ง

  • สุภาภรณ์ น้อยเจริญ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • อารมย์ พรหมดี โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • แสงไทย ไตรยวงค์ โรงพยาบาลมุกดาหาร
  • วงค์เพ็ชร ผลสวัสดิกุล โรงพยาบาลมุกดาหาร

คำสำคัญ:

ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดของทารกแรกเกิด, การดูแลทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก, การพัฒนารูปแบบ

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์ : 1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์การดูแลทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลมุกดาหาร 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลมุกดาหาร และ 3) เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลมุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพการณ์ และพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก คือทีมสุขภาพ จำนวน 12 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) ตามคุณสมบัติที่กำหนด และมารดาและทารกแรกเกิดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก เป็นกลุ่มควบคุม 30 คน และกลุ่มทดลอง 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (simple random sampling) ที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความพึงพอใจ รูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก แบบคัดกรองทารกกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก (EOS) แบบบันทึกติดตามและเฝ้าระวังอาการทางคลินิก (Early onset sepsis) และแบบบันทึกข้อมูลการติดตามและรายงานผลตามตัวชี้วัด ศึกษาในระหว่างเดือน มิถุนายน 2566 - มีนาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ Independent t–test
     ผลการศึกษา : พบว่า (1) อัตราทารกแรกเกิดมีการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก (2) ระยะเวลาที่พยาบาลตรวจพบอาการติดเชื้อในกระแสเลือด (3) ระยะเวลาที่ตัดสินใจรายงานแพทย์ (4) ร้อยละการดักจับและการจัดการภาวะติดเชื้อภายใน 15 นาที (5) อัตราการเสียชีวิตจากการติดเชื้อในกระแสเลือด (6) วันนอนในโรงพยาบาล (7) ค่าใช้จ่ายในการรักษาพบว่า กลุ่มทดลองหลังการใช้รูปแบบใหม่ดีกว่ากลุ่มควบคุมหลังการใช้รูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ยกเว้น (8) ระยะเวลาที่แพทย์มีคำสั่งการรักษาหลังรับรายงาน (9) ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเริ่มได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังวินิจฉัยพบว่า กลุ่มทดลองหลังการใช้รูปแบบใหม่ไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมหลังการใช้รูปแบบเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพต่อการใช้รูปแบบฯ พบว่า มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก equation= 4.40, S.D. = 0.51

References

Palatnik, A., Liu, L. Y., Lee, A., & Yee, L. M. (2014). Predictors of early-onset neonatal sepsis or death among newborns born at< 32 weeks of gestation. Journal of Perinatology 2019; 39(7): 949-955.

Simonsen, K. A., Anderson-Berry, A. L., Delair, S. F., & Davies, H. D. (2014). Early-onset neonatal sepsis. Clinical microbiology reviews 2014; 27(1): 21-47.

Murthy, S., Godinho, M. A., Guddattu, V., Lewis, L. E. S., & Nair, N. S. (2019). Risk factors of neonatal sepsis in India: A systematic review and meta-analysis. PloS one 2019; 14(4), e0215683.

Dhudasia, M. B., Mukhopadhyay, S., & Puopolo, K. M. (2018). Implementation of the sepsis risk calculator at an academic birth hospital. Hospital pediatrics 2018; 8(5): 243-250.

Oza, S., Lawn, J. E., Hogan, D. R., Mathers, C. & Cousens, S. N. (2015). Neonatal cause-of death estimates for the early and late neonatal periods for 194 countries: 2000- 2013. Bull. World Health Organ 2015; 93: 19–28.

World Health Organization. (2015). Global tuberculosis report 2015. World Health Organization.

วิลาวัลย์ วงศ์วัฒนอนันต์. (2566). อุบัติการณ์ของภาวะติดเชื้อในทารกแรกเกิด ลักษณะทางคลินิก และการรักษาในทารกแรกเกิดที่ คลอดในในโรงพยาบาลปักธงชัย. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา 2566; 9(1): 62-77.

ฉฎาธร ปรานมนตรี, วรรณภา ตั้งแต่ง, พรจันทร์ สุวรรณมนตรี, ประกอบพร ทิมทอง, ชุลีพร การะภักดี. (2565). การพัฒนาระบบการพยาบาลภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดทารกแรกเกิด. วารสารวิชาการแพทย์และสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 3 จังหวัดนครสวรรค์ 2565; 19(2): 138-154.

Mukhopadhyay, S. et al. (2021). Neuro developmental outcomes following neonatal late onset sepsis and blood culture-negative conditions. Archives Disease Child Fetal Neonatal Ed. 2021; 106: 467–473.

ศิริสุดา อัญญะโพธิ์. (2558). การติดเชื้อทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลอ่างทอง. วารสารวิชาการ รพศ/รพท เขต 4; 17(3) : 174-82.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). แนวทางเวชปฏิบัติการดูแลรักษาผู้ป่วย severe sepsis และseptic shock (ฉบับร่าง) พ.ศ. 2558. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2564, จาก http://www.ayhosp.go.th

ลลิดา ก้องเกียรติกุล. (2564). ระบบการดูแลผู้ป่วยก่อนวิกฤต Rapid Response System. Interprofessional Team Care in Pediatrics: Learn and Work Together. ค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2566, จาก https://ped.md.chula.ac.th/wp-content/uploads/2021/09/24_CUPA2021-ebook.pdf

Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.

Polit, D.F. & Beck, C.T. (2004). Nursing Research: Principles and Methods (7thed). Philadelphia: Lippincolt.

บุปผา ศิริรัศมี, จรรยา เศรษฐบุตร, & เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2544). จริยธรรมสำหรับการศึกษาในคน. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

มณี คูประสิทธิ์ และสมคิด ปานประเสริฐ. (2564). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารพยาบาลสาธารณสุข 2564; 35(1): 1-20.

ผจงวรรณ อดุลยศักดิ์, ณัฐศิกา ใคร่ครวญและสุภาภรณ์ ประยูร. (2567). การพัฒนาระบบการพยาบาลทารกแรกเกิดที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน; 9(1): 190-200.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

น้อยเจริญ ส. ., พรหมดี อ. ., ไตรยวงค์ แ., & ผลสวัสดิกุล ว. . (2024). ผลการพัฒนารูปแบบการดูแลทารกแรกเกิดเสี่ยงต่อการติดเชื้อในกระแสเลือดระยะแรก หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดป่วย โรงพยาบาลมุกดาหาร. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 141–152. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3352