แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • มานพ มาสอาด นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ (ด้านบริการทางวิชาการ) กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ตำบลมะนาวหวาน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุข, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง (survey research by cross-sectional descriptive)  วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดลพบุรี รวบรวมข้อมูลโดยเก็บข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ จำนวนกลุ่มตัวอย่างคือนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดลพบุรี จำนวน 81 คน ซึ่งดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง วันที่ 1 มีนาคม 2566-31 มีนาคม 2566และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณนาเพื่ออธิบาย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุด และสถิติอนุมาน เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน
     ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 65.9 อายุระหว่าง 26-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 22.0 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่ระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 87.8 รายได้้ส่วนใหญ่น้อยกว่า 20,000 บาทต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 37.8 และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิชาการสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดลพบุรี 1-5 ปี คิดเป็นร้อยละ 13.4 แรงจูงใจภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก สมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดลพบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 4.071 (S.D.=0.496) แรงจูงใจมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดลพบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (r=0.768, p-value<0.001)

References

โกศล ศิริจันทร์ และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของนักวิชาการสาธารณสุขระดับตำบลในจังหวัดหนองคาย. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 2559; 7(4): 58-66.

เทพอินทร เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2562; 12(2): 42-51.

ศันสนีย์ วงค์ม่วย และวิทิศน์ จันทรโพธิ์ศรี. แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2556; 6(3): 46-54.

ศิราณี เสนานุช และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 2560; 10(1): 63-73.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. คู่มือการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและสมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. 2553; กรุงเทพฯ: ประชุมช่าง.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี. รายชื่อและจำนวนนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดลพบุรี. 2565; ลพบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี.

Hertzberg, F., Mausner, B., & Synderman, B. B. The motivate to work. 2010; New Brunwisk, NJ: Transaction Publicaton.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

มาสอาด ม. . . . (2024). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะหลักของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดลพบุรี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 170–177. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3355