ความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี: การศึกษาเชิงสำรวจ

ผู้แต่ง

  • บรรเทิง พลสวัสดิ์ อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ชลธิชา อรุณพงษ์ อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ผู้ประพันธ์บรรณกิจ
  • อาภรณ์ เชื้อพันธ์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่
  • หนูพิศ ทุ่นทอง เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่
  • สอาด มุ่งสิน ผู้ช่วยศาสตราจารย์, วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สมจิตร วงศ์หอม อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ อาจารย์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การดูแลของครอบครัว, ความต้องการการดูแล, อุบลราชธานี

บทคัดย่อ

     การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการดูแลของครอบครัวและความต้องการได้รับการดูแลของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ จำนวน 385 คน ได้รับการสุ่มเลือกแบบหลายขั้น เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน (ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ .67-1.00) และทดสอบความเชื่อมั่นโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก (.78 - .83) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
     ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 68.83) มีอายุเฉลี่ย 68.99 ปี (SD =7.85) ลักษณะการดูแลของครอบครัวที่มีต่อผู้สูงอายุ พบว่า ส่วนมากบุตรหลานหรือคนในครอบครัวเป็นผู้จัดหาอาหารที่รับประทานให้ (ร้อยละ 91.69) เมื่อเจ็บป่วยจะมีบุตรหลานหรือคนในครอบครัวจะเข้ามาซักถามอาการเสมอ (ร้อยละ 95.58) ได้รับความเคารพนับถือบุตรหลานหรือคนในครอบครัว (ร้อยละ 95.32) และได้รับค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนจากบุตรหลานหรือคนในครอบครัว (ร้อยละ 91.69) มีผู้สูงอายุส่วนน้อยที่เป็นผู้ดูแลจัดสิ่งของเครื่องใช้ในบ้านให้เป็นระเบียบด้วยตนเอง (ร้อยละ 14.55) ส่วนความต้องการการดูแล พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ต้องการได้รับการดูแลเรื่องอาหาร (ร้อยละ 94.55) ต้องการให้มีคนมาดูแลเมื่อเจ็บป่วย  (ร้อยละ 98.18) ต้องการให้บุตรหลานหรือญาติทราบเมื่อเจ็บป่วย (ร้อยละ 93.51) ต้องการให้บุตรหลานเชื่อฟัง (ร้อยละ 96.10) และต้องการให้บุตรหลานดูแลสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นให้ (ร้อยละ 96.62) ส่วนการดูแลที่ต้องการน้อยลที่สุด คือ ต้องการให้บุตรหลานเห็นคุณค่าของตัวผู้สูงอายุเอง (ร้อยละ 25.25)

References

กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2565. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์ คอร์เปอเรชั่นส์ จำกัด (มหาชน); 2566.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2564.

วัลย์พร วรพรพงษ์, วรพนิต ศุกระแพทย์, วลัยนารี พรมลา. ผู้สูงวัยในถิ่น. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์) 2563;6(2):540-549.

Teerawichitchainan B, Pothisiri W, Long GT. How do living arrangements and intergenerational support matter for psychological health of elderly parents? Evidence from Myanmar, Vietnam, and Thailand. Soc Sci Med 2015;136-137:106-116.

สุนิสา ค้าขึ้น, หฤทัย กงมหา, วิจิตร แผ่นทอง, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์. สุขภาพจิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลวิจัยสุขภาพและการพยาบาล 2563;36(3):150-163.

กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, วิรดา อัศวเมธากุล, ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์, จามจุรี แซ่หลู่, เพ็ญนภา พิสัยพันธุ์, อรัญญา นามวงศ์. สถานการณ์ภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุในสังคมไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น 2563;17(2):581-595.

Evans N, Allotey P, Imelda JD, Reidpath DD, Pool R. Social support and care arrangements of older people living alone in rural Malaysia. Ageing Soc 2018;38(10):2061-2081.

เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ, ดลฤดี สุวรรณคีรี. การปรับตัวของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์โควิด -19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์ 2565;7(3):100-114.

Hussain B, Mirza M, Baines R, Burns L, Stevens S, Asthana S, et al. Loneliness and social networks of older adults in rural communities: A narrative synthesis systematic review. Front Public Health 2023;11:1113864.

Liao L, Feng M, You Y, Chen Y, Guan C, Liu Y. Experiences of older people, healthcare providers and caregivers on implementing person-centered care for community-dwelling older people: A systematic review and qualitative meta-synthesis. BMC Geriatr 2023;23(1):207.

Ho L, Malden S, McGill K, Shimonovich M, Frost H, Aujla N, et al. Complex interventions for improving independent living and quality of life amongst community-dwelling older adults: A systematic review and meta-analysis. Age Ageing 2023;52(7):afad132.

Ohta R, Katsube T, Sano C. Challenges in help-seeking behaviors among rural older people mitigated through family physician-driven outreach: A systematic review. Int J Environ Res Public Health 2022;19(24):17004.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

พลสวัสดิ์ บ. ., อรุณพงษ์ ช. ., เชื้อพันธ์ อ. ., ทุ่นทอง ห. . ., มุ่งสิน ส. . ., วงศ์หอม ส. ., & ทาเสนาะ เอลเทอร์ ป. (2024). ความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองอุบลราชธานี: การศึกษาเชิงสำรวจ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 178–186. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3356