ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน โดยใช้เครือข่ายสุขภาพชุมชนและระบบการแพทย์ทางไกล: กรณีศึกษาคลินิกหมอครอบครัว อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
การดูแลสุขภาพแบบบูรณาการ, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง, ระบบการดูแลระยะยาว, การแพทย์ทางไกล, คลินิกหมอครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน โดยใช้เครือข่ายสุขภาพชุมชนและระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) การศึกษาดำเนินการในอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ ระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม ถึง 31 สิงหาคม 2567 ใช้รูปแบบการวิจัยกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจำนวน 45 ราย ซึ่งคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง การเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถามประเมินความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันและบันทึกปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การทดสอบ Paired sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย ADL และการทดสอบ McNemar เพื่อเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังการทดลอง
ผลการวิจัยพบว่าคะแนน ADL เฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001) จาก 7.07 เป็น 7.91 นอกจากนี้ยังพบว่าปัญหาสุขภาพและภาวะแทรกซ้อน เช่น แผลกดทับและปัญหาการนอนหลับ ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05)
References
กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย. สถิติจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565 [Internet]. 2565 [cited 2023 Dec 2]. Available from: https://www.dopa.go.th/main/web_index
กลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กรมกิจการผู้สูงอายุ. สถิติผู้สูงอายุ ปี พ.ศ.2565 [Internet]. 2565 [cited 2023 Dec 2]. Available from: htts://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1962
Marengoni A, Angleman S, Melis R, Mangialasche F, Karp A, Garmen A, et al. Aging with multimorbidity: A systematic review of the literature [Internet]. Vol. 10, Ageing Research Reviews. 2011 [cited 2023 Dec 4]. p. 430–9. Available from: https://linkinghub.elsevier.com/retrieve/pii/S1568163711000249
Sambamoorthi U, Tan X, Deb A. Multiple chronic conditions and healthcare costs among adults. Expert Rev Pharmacoecon Outcomes Res [Internet]. 2015 Sep 3 [cited 2023 Dec 4];15(5):823–32. Available from: http://www.tandfonline.com/doi/full/10.1586/14737167.2015.1091730
สำนักอนามัยผู้สูงอายุ กรมอนามัย. ข้อมูลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแลตาม Care Plan [Internet]. ระบบสารสนเทศสนับสนุนงานส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. 2565 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://dashboard.anamai.moph.go.th
กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [Internet]. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2563 [cited 2023 Dec 12]. Available from: https://region4.anamai.moph.go.th/knowledge/mapping/paper/view?id=301
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล วิชช์ เกษมทรัพย์ วิชัย เอกพลากร บวรศม ลีระพันธ์. ระบบการดูแลระยะยาว (long-term care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ [Internet]. คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2561 [cited 2023 Dec 9]. Available from: https://datahpc9.anamai.moph.go.th/group_sr/allfile/1578551088.pdf
สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานคลินิกหมอครอบครัวสำหรับหน่วยบริการ [Internet]. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559 [cited 2023 Dec 12]. Available from: http://www.amno.moph.go.th/amno_new/files/Manual PCC 2017.pdf
กรมการแพทย์. ระบบการแพทย์ทางไกล”(DMS Telemedicine) การรักษาที่ไร้ข้อจำกัดทั้งเวลาและสถานที่ [Internet]. ข่าวเพื่อสื่อมวลชล. 2565 [cited 2023 Dec 2]. Available from: https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/181945
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ระบบข้อมูลบุคลากรการดูแลระยะยาวและแผนการดูแลรายบุคคล [Internet]. LTC ผู้สูงอายุ. 2566 [cited 2023 Dec 9]. Available from: https://ltc.anamai.moph.go.th
กษิพัฒน์ เชียงแรง พัชราภรณ์ ปินตา เสาวนีย์ สำนวน. การพัฒนาคุณภาพรูปแบบบริการด้านสาธารณสุข ในการดูแล ผู้ป่วยระยะยาว Long Term Care (LTC) ในชุมชน แบบบูรณาการผ่านระบบการแพทย์ทางไกล โดยคลินิกหมอครอบครัว โรงพยาบาลท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ [Internet]. เขตสุขภาพที่ 2 ผลงานวิชาการ “ ประเภทงานพัฒนาคุณภาพ CQI; 2566 [cited 2023 Dec 20]. Available from: https://hpc2appcenter.anamai.moph.go.th/academic/web/files/2566/cqi/MA2566-004-03-0000001323-0000001419.pdf
เพ็ญจันทร์ สิทธิปรีชาชาญ. กระบวนการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลมาบแค. วารสารพยาบาลทหารบก. 2555;13(2):8-17.
สุรพงษ์ ลักษวุธ. การพัฒนาการประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบึงกาฬ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน. 2566;8(2):346–57.
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือแนวทางการอบรมฟื้นฟู Caregiver หลักสูตร 70 ชั่วโมง [Internet]. 1st ed. ห้างหุ้นส่วนจํากัดแสงจันทร์การพิมพ์; 2563 [cited 2023 Dec 15]. Available from: https://eh.anamai.moph.go.th/th/elderly-manual/211555#
นวลจันทร์ แสนกอง. การประเมินผลการจัดบริการดูแลผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงโดยทีมหมอครอบครัวตามนโยบายการจัดกลุ่มหน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรมไทย. 2565;14(3):733–44.
พิชิต สุขสบาย. การประเมินผลการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ของทีมหมอครอบครัว อำเภอชัยบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารวิชาการแพทย์ เขตสุขภาพที่ 11. 2560;31(2):257–69.
นันทิกานต์ หวังจิ. พัฒนารูปแบบการดูแลต่อเนื่องสำหรับผู้ป่วยสูงอายุที่อยู่ในภาวะพึ่งพิง. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน. 2565;5(3):40–6.