การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยภาคีเครือข่ายจังหวัดเลย
คำสำคัญ:
การพัฒนาระบบ, ผู้ป่วยจิตเวช, ภาคีเครือข่ายบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนา ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการให้บริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่จังหวัดเลย การพัฒนาระบบและผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยภาคีเครือข่ายจังหวัดเลย ศึกษาในทีมสหวิชาชีพภาคีเครือข่ายจังหวัดเลย จำนวน 48 คน และญาติผู้ป่วยจิตเวช จํานวน 380 คน เก็บข้อมูลโดยเครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินคุณภาพงานบริการสุขภาพจิต, แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ด้วยสถิติพรรณนาและเปรียบเทียบ คะแนนความพึงพอใจ ด้วยสถิติ Paired t-test นำเสนอด้วยค่า t-test ค่าความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (Mean different: Mean diff.) ค่าช่วงเชื่อมั่น 95% (95%CI ของ Mean diff.) ค่า P-value และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัญหาการให้บริการดูแลผู้ป่วยจิตเวช มี 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและการป้องกันปัญหาของผู้ป่วยจิตเวช ด้านการพัฒนาคุณภาพระบบบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวช ด้านการพัฒนาระบบเฝ้าระวังในผู้ป่วยจิตเวช และด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย 2) ผลการออกแบบและพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชได้กำหนดบทบาทของทีมสหวิชาชีพภาคีเครือข่ายจังหวัดเลย และระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง 3) ผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชโดยภาคีเครือข่ายจังหวัดเลย พบว่า ผลงานบริการสุขภาพจิตตามตัวชี้วัดของกรมสุขภาพจิต เพิ่มขึ้น ยกเว้น ผู้ป่วยโรคจิตเภท (Schizophrenia) ที่เข้าถึงบริการได้รับการดูแลรักษาต่อเนื่อง ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า หายทุเลา (Remission) และผู้ป่วยโรคจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V)ที่เข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผลการเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา พบว่า คะแนนความพึงพอใจของทีมสหวิชาชีพ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (Mean diff.= 34.60, 95%CI: 20.40 - 40.32, P<.01) คะแนนความพึงพอใจของญาติผู้ป่วย (Mean diff.=36.62, 95%CI:24.42 - 42.28, P<.01
References
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. รายงานสถิติผู้ป่วยจิตเวชประจำปี 2564. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต; 2565.
วิชัย เอกพลากร, สมพร เตชะงามสุวรรณ. ผลกระทบของโควิด-19 ต่อสุขภาพจิตคนไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย. 2564;66(2):195-211.
สมชาย จักรพันธุ์. โรคจิตเภท: การวินิจฉัยและการรักษา. กรุงเทพฯ: โรงพยาบาลศรีธัญญา; 2563.
นิตยา ตันตินาครินทร์. ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย: การศึกษาระดับชาติ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์. 2565;52(1):45-58.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2564. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2565.
มาโนช หล่อตระกูล, ปราโมทย์ สุคนิชย์. ตำราจิตเวชศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2563.
World Health Organization. The ICD-10 classification of mental and behavioural disorders: Clinical descriptions and diagnostic guidelines. Geneva: World Health Organization; 2019.
Tandon R, Gaebel W, Barch DM, et al. Definition and description of schizophrenia in the DSM-5. Schizophr Res. 2013;150(1):3-10.
National Institute for Health and Care Excellence. Psychosis and schizophrenia in adults: prevention and management. London: NICE; 2020.
American Psychiatric Association. Diagnostic and statistical manual of mental disorders. 5th ed. Arlington, VA: American Psychiatric Association; 2013.
Malhi GS, Mann JJ. Depression. Lancet. 2018;392(10161):2299-2312.
Craske MG, Stein MB. Anxiety. Lancet. 2016;388(10063):3048-3059.
Bandelow B, Michaelis S, Wedekind D. Treatment of anxiety disorders. Dialogues Clin Neurosci. 2017;19(2):93-107.
Walsh R. Lifestyle and mental health. Am Psychol. 2011;66(7):579-592.
Wang PS, Berglund P, Olfson M, et al. Failure and delay in initial treatment contact after first onset of mental disorders in the National Comorbidity Survey Replication. Arch Gen Psychiatry. 2005;62(6):603-
กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2559 [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2559 [เข้าถึงเมื่อ 11 ต.ค. 2567]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dmh.go.th/report/
โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์. แบบรายงานผลปฏิบัติงานสำหรับผู้บริหารของกรมสุขภาพจิต 2567 [อัดสำเนา]. เลย: โรงพยาบาลจิตเวชเลยราชนครินทร์; 2567.
World Health Organization. Framework for action on interprofessional education & collaborative practice. Geneva: WHO; 2010.
Kemmis S, McTaggart R. The Action research planner. 3rd ed. Victoria: Deakin University Press; 1998.
Bucha P, Sangduang N. Research and Development: Process and Application. 2021;1(1):77-89. Thai.
วะสี ป, วัฒนศิริธรรม พ. เทคนิคการวางแผนแบบมีส่วนร่วม AIC. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา; 2542.
World Health Organization. Framework for action on interprofessional education & collaborative practice. Geneva: WHO; 2010.
Morgan DL. Focus Groups as Qualitative Research. 2nd ed. Thousand Oaks: SAGE Publications; 1997.
Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 1970;30(3):607-10.
ปิยวัฒน์ ผิวเรืองนนท์ และสกุลรัตน์ ทองจันทร์. แนวทางการดูแลผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉินที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงโดยการมีส่วนร่วม ของทีมสหวิชาชีพและภาคีเครือข่ายชุมชน อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการทางการพยายบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 2567;1(4):185-198.
เสาวณีย์ จันทร์ฉาย. ผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงในเครือข่ายโรงพยาบาลนครปฐม. วารสารแพทย์เขต 4-5. 2565 ; 41(2) : 221–232.
ทิวาวรรณ ปิยกุลมาลา และธีรพัฒน์ สุทธิประภา. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตจากนโยบายสู่การปฏิบัติ. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2563; 29(2): 293 - 302
สุภาพร จันทร์สาม. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชแบบไร้รอยต่อเขตบริการจังหวัดยโสธร. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2565; 31( ฉบับเพิ่มเติม): S74 -S84
ชัยวุฒิ สุขสมานวงศ์. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงต่อการก่อความรุนแรง โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนอําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา .วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา. 2566; 8(4): 374-383.