การประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU), พระราชบัญญัติระบบสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ.2562, CIPP Modelบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) อำเภอเมืองสระแก้ว และเพื่อศึกษาปัจจัยแห่งความสำเร็จและปัญหาและอุปสรรค ในการดำเนินการของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ(NPCU) อำเภอเมืองสระแก้ว พื้นที่เป้าหมายการประเมินประกอบไปด้วย 4 เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ในอำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว โดยใช้โมเดล CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam’s CIPP Model) ด้วยกระบวนการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาพบว่า ด้านบริบท (Context Evaluation) แต่ละเครือข่ายมีการบูรณาการใช้กระบวนการพัฒนางานในพื้นที่ ได้แก่ การจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานพร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิในระดับอำเภอและระดับเครือข่ายที่ชัดเจน การพัฒนาระบบคุณภาพตามมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 และมีการพัฒนาเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) ด้วยกระบวนการจัดการความรู้และการเรียนรู้จากงานประจำสู่งานวิจัย ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ นโยบาย งบประมาณ บุคลากร และทรัพยากร ที่มาสนับสนุนการดำเนินการของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) จากโรงพยาบาลแม่ข่ายและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีค่าคะแนนการประเมินอยู่ในระดับสูง ด้านกระบวนการตามองค์ประกอบ UCCARE 5 ระดับ เครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) ทุกแห่งผ่านการประเมิน ระดับ 4 ขึ้นไป มีการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้นจากปีก่อน ด้านการประเมินด้านผลผลิตกลุ่มตัวอย่างมีความเห็นว่าเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ (NPCU) ทุกแห่งมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานบริการสุขภาพปฐมภูมิ พ.ศ. 2566 มีค่าคะแนนการประเมินอยู่ในระดับสูง
References
ชูชัย ศุภวงศ์และคณะ. คู่มือการให้บริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2553.
พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์. เรียนรู้อะไรเมือเป็นแพทย์ใช้ทุน. กรุงเทพฯ: มูลนิธิแพทย์ชนบท; 2552.
โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ และประชาธิป กะทา. สุขภาพปฐมภูมิบริการปฐมภูมิจากปรัชญาสู่การปฏิบัติการสุขภาพมิติใหม่. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
Cronbach, L. J. Essentials of psychological test. 5th ed. New York: Harper Collins; 1970.
Best, John W. & James V. Kahn. Research in Education. 7th ed. Boston: Allyn and Bacon;
รัชดาภรณ์ ทองใจสด. การประเมินผลการดำเนินงานระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง อำเภอหนองไผ่ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก 2565; 9(2): 24-36.
ชดาภร ศิริคุณและวุธิพงศ์ ภักดีกุล. การประเมินความคิดเห็นต่อการพัฒนาเครือข่ายบริการสุขภาพ Systemระดับอำเภอ (District Health: DHS) ในพื้นที่จังหวัดสกลนคร. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2557; 2(1): 1-12.
ธเนศ ภัทรวิรินกุล. การประเมินผลการดำเนินงานโครงการอำเภอจัดการระบบสุขภาพอำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด. วารสารสุขภาพภาคประชาชน 2560; 13(1) : 3 - 11.
สุวภัทร นักรู้กำพลพัฒน์และคณะ. การประเมินผลการดำเนินการของเครือข่ายบริการสุขภาพระดับอำเภอ กรณีอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 2559; 105-130.
ปราโมชย์ เลิศขามป้อม, มโน มณีฉาย และธีระ วรธนารัตน์. การวิจัยประเมินผลการดำเนินงานเครือข่ายสุขภาพระดับอำเภอ จังหวัดตาก. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข [อินเตอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2566]; เข้าถึงจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4384