การพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสุขภาพ, มารดาหลังคลอด, การติดเชื้อเอชไอวีบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอดที่ติดเชื้อเอชไอวี และป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีจากแม่สู่ลูก ศึกษาในหญิงไทย อายุ 23 ปี วินิจฉัยว่า ติดเชื้อเอชไอวี พ.ศ. 2562 ไม่มาตามนัด ขาดยา มาเริ่มยาต้านไวรัสเดือนมีนาคม 2566 และเข้ารับการรักษาเพื่อมาคลอด วันที่ 8 พฤษภาคม 2566
ผลการศึกษา: ได้ให้การพยาบาลส่งเสริมสุขภาพมารดาหลังคลอด ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ให้ความรู้ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเอชไอวีสู่บุตร สามี และบุคคลอื่น วางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องที่บ้าน ก่อนจำหน่ายมีการประสานส่งต่อข้อมูลมารดาหลังคลอดเพื่อการดูแลต่อเนื่องในชุมชน ผ่านทาง Smart COC สามารถจำหน่ายผู้ป่วยได้ วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 การติดตามมาตรวจหลังคลอด มารดาหลังคลอดดูแลสุขภาพตนเอง และบุตรได้ถูกต้อง
References
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แนวทางการตรวจรักษาและป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ปี 2565. ห้างหุ้นส่วนจำกัด สำนักพิมพ์อักษร กราฟฟิกแอนด์ดีไซน์.
เพ็ญพักตร์อุทิศ, ชมพูนุช โสภาจารีย์, ปริยศ กิตติธีระศักดิ์. (2560). คู่มือการดูแลผู้ติดเชื้อ/ผู้ป่วยเอดส์ แบบองค์รวม. โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พรศิริ พันธสี. (2559). กระบวนการพยาบาล& แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. พิมพ์ครั้งที่18. ห้างหุ้นส่วนจํากัด พิมพ์อักษร.
ลัดดา พลพุทธา. (2558). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(1), 136-150.
Orem, D. E., Taylor, S. G., & Renpenning, K. M. (2001). Nursing: Concepts of practice. St. Louis: Mosby.