การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมกับมีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น: กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • ทัศนีย์ ณ ป้อมเพ็ชร พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช

คำสำคัญ:

การพยาบาล, ติดเชื้อดื้อยา, ติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ, ภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น

บทคัดย่อ

     การศึกษานี้เป็นกรณีศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมกับมีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยศึกษาในผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 88 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลววันที่ 24 สิงหาคม 2565 ด้วยอาการ ไข้ ปวดท้อง ปัสสาวะออกน้อย ใส่ NG มีเลือดปน 1 วัน ก่อนมาโรงพยาบาล
     ผลการศึกษา: แพทย์วินิจฉัย ติดเชื้อดื้อยาในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมกับมีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น ระหว่างดูแลให้การพยาบาลป้องกันและลดการติดเชื้อ ดูแลความสุขสบายลดไข้ ป้องกันแผลกดทับ ให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา อาการผู้ป่วยดีขึ้นเป็นลำดับ ไข้ลดลง ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน สามารถรับประทานอาหารได้มากขึ้น ปัสสาวะไม่มีตะกอน จำหน่ายวันที่ 30 สิงหาคม 2565  รวมระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล 7 วัน

References

กนกพร เทียนคาศรี และธนพล บรรดาศักดิ์. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตที่มีภาวะช็อกจากการติดเชื้อ. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(4), 347-355.

พูนทรัพย์ โสภารัตน์. (2560). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาทางเดินปัสสาวะ. พิมพ์ครั้งที่ 4. คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นภชนก รักษาเคน. การดูแลผู้ป่วยที่มีเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้น: บทบาทของพยาบาลในการ ป้องกันเลือดออกและเลือดออกซ้ำ. วารสารการพยาบาลและการดูสุขภาพ. 2562; 37(3): 13-19

ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. (2563). ศูนย์เฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กระทรวงสาธารณสุข.

สุกานดา ตีพัดดี. กรณีศึกษา: การพยาบาลผู้ป่วยเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้นที่มีภาวะช็อก ร่วมกับภาวะแทรกซ้อน โรงพยาบาลกาฬสินธุ์.วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2563; 13 (2):135-144

Levy MM, Evans LE, Rhodes A. (2018). The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Intensive care medicine, 44(6), 925-928.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-10-31

How to Cite

ณ ป้อมเพ็ชร ท. (2024). การพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาในระบบทางเดินปัสสาวะร่วมกับมีภาวะเลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น: กรณีศึกษา. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 9(5), 364–370. สืบค้น จาก https://he03.tci-thaijo.org/index.php/ech/article/view/3416